ผลการประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ในวันนี้และการรายงานตัวเลข GDP ของญี่ปุ่นจะเป็นการทดสอบความแข็งแกร่งของสกุลเงิน CAD
กราฟ CADJPY รายวัน
CADJPY อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นมาตั้งแต่เดือนมีนาคม และกำลังมุ่งหน้าขึ้นสู่ระดับ 105 ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจทั้งสองจะเป็นตัวกำหนดว่าเทรนด์ในปัจจุบันจะสามารถดำเนินการต่อไปได้หรือไม่ หรือจะนำไปสู่การกลับตัวของเทรนด์
จากการสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์รอยเตอร์ พวกเขาเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศแคนาดาจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.50% ในการประชุมวันพุธและในช่วงที่เหลือของปีนี้ อย่างไรก็ตาม พวกเขายอมรับว่ามีโอกาสสูงที่ BoC จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง
อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าสองเท่าของเป้าหมาย 2% ที่ BoC ต้องการ ความแข็งแกร่งของตลาดงานและเศรษฐกิจเป็นสาเหตุที่ BoC อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกอย่างน้อยหนึ่งครั้ง นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่เชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเข้ามาอีก ซึ่งอาจช่วยลดแรงกดดันให้ BoC หยุดขึ้นดอกเบี้ยชั่วคราวได้
Avery Shenfeld หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ CIBC Capital Markets กล่าวว่า “เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยได้ถูกปรับสูงขึ้นแล้ว จึงสามารถรอไปจนถึงเดือนกรกฎาคมได้ ซึ่งเป็นเวลาที่ถึงกำหนดของการปรับตัวเลขคาดการณ์ เพื่อตัดสินใจว่าจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้นอีกหรือไม่”
“เรายังคงหวังว่าข้อมูลการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นจะเเพียงพอที่จะทำให้ธนาคารกลางฯ ไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยอีกในปีนี้ แต่ยอมรับว่ามีความเสี่ยงของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระดับปานกลางเพิ่มขึ้นอีก”
ในวันเดียวกันนั้น ญี่ปุ่นจะมีการเปิดเผยข้อมูลตัวเลข GDP ในวันพุธ GDP จะแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถเติบโตมากกว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรก ข้อมูลจีดีพีที่ปรับใหม่คาดว่าจะแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวในอัตราต่อปีที่ 1.9% ในไตรมาสแรก ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ครั้งแรกที่ 1.6%
ตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า CapEx จะเพิ่มขึ้น 1.3% ที่มากกว่าคาดการณ์ 0.9% จะเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตของ GDP ข้อมูลกระทรวงการคลังแสดงให้เห็นว่าในเดือนมกราคมถึงมีนาคมนั้นบริษัทญี่ปุ่นเพิ่มการใช้จ่ายสำหรับโรงงานและอุปกรณ์ในอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2015
นักวิเคราะห์จากหลักทรัพย์ SMBC Nikko กล่าวว่า “การลงทุนของผู้ผลิตเติบโตอย่างแข็งแกร่ง (ที่ไม่คำนวณรวมการใช้จ่ายของผู้ผลิต) ซึ่งบ่งชี้ว่าภาวะตกต่ำของการผลิตทั่วโลกไม่ได้ส่งผลกระทบต่อญี่ปุ่นอย่างมีนัยสำคัญ”