เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม มีการเปิดเผยข้อมูล CPI ประจำปีเบื้องต้นของยูโรโซน าก่อนหน้านี้ ตัวเลข CPI เคยออกมาอยู่ที่ 8.9% เทียบกับข้อมูลล่าสุด 9.1% ซึ่งตัวเลขที่ออกมาสูงกว่าที่คาดไว้ 9% ในขณะเดียวกัน ตัวเลข CPI พื้นฐานก่อนหน้าเคยออกมาอยู่ที่ 0.1% เทียบกับตัวเลขที่ประกาศ 0.5% ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้เช่นกัน ข้อมูลเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคมของยูโรโซนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังไม่แน่ชัดว่าอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนจะถึงจุดสูงสุดแล้วหรือไม่ เมื่อถึงฤดูหนาวของยุโรปมาถึง ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและค่าไฟฟ้าจะสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบให้อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรมีความเสี่ยงที่ทำสถิติสูงสุดใหม่อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
ในเดือนสิงหาคม อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้ตลาดลงทุนมีความเชื่อมากขึ้นธนาคารกลางยุโรปจะเพิ่มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกในเดือนหน้า มาร์ตินส์ คาซัคส์ เจ้าหน้าที่ของ ECB บอกกับสื่อเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ธนาคารกลางฯ จะหารือเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bpsในการระชุมวันที่ 8 กันยายน 2022 หรืออาจจะพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 จุดพื้นฐาน ตอนนี้ แม้แต่ใน ECB ก็ยังมีการแบ่งแยกกันเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเชื่อว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 จุดเบสิสเนั้นเพียงพอ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งยินดีที่จะพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 75 จุดเบสิส
อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจเป็นประโยชน์ต่อเงินยูโร แต่การแข็งค่าของเงินยูโรอาจขึ้นไม่ได้มากนัก เพราะมีชะงักติดหลังอย่างความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม เงินยูโรค่อนข้างอ่อนค่า และนักวิเคราะห์จำนวนมากก็เชื่อว่าแนวโน้มทางเศรษฐกิจของเขตยูโรมีโอกาสอ่อนแอต่อเนื่องในฤดูหนาว นอกจากนี้ ยุโรปอาจเผชิญกับการลดซัพพลายก๊าซธรรมชาติอย่างรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในยุโรป และชิ่งมากระทบต่อค่าเงินยูโร
จากการมองเศรษฐกิจในระดับมหภาค เศรษฐกิจยูโรโซนกำลังเผชิญกับอุปสรรคที่ยากลำบากอยู่แล้ว ตัวเลข PMI คอมโพสิตเบื้องต้นของยูโรโซนในเดือนสิงหาคมออกมาอยู่ที่ 49.2 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 49 แต่ต่ำกว่าตัวเลขก่อนหน้า 49.9 นับเป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 18 เดือน นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการผลิตและตัวเลขเบื้องต้นของ PMI ภาคการบริการต่างก็ลงมาแตะจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ นี่คือสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนโดยรวม แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าการหดตัวดังกล่าวจะฝักรากลึกมากยิ่งขึ้นหรือไม่ สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากบริษัทก๊าซพรอมของประเทศต่างๆ ในยุโรป ความตื่นตระหนกที่เกี่ยวข้องกับ “การไม่ส่งก๊าซ” จะสร้างผลกระทบต่อยุโรปตลอดฤดูหนาว แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ทิศทางของเงินยูโรยังไม่ชัดเจน
นอกจากนี้ นักลงทุนควรเฝ้าดูแนวโน้มของคู่กราฟ EURUSD อย่างใกล้ชิด จะเห็นได้ว่าการดีดตัวขึ้นของเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์นั้นสั้นมากและในอดีตนั้นก็เกิดขึ้นน้อยมาก หมายความว่าตลาดหมียังคงมีความได้เปรียบในการคุมเทรนด์เมื่อเทียบกับฝั่งขาขึ้น จากถ้อยแถลงของเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดในการประชุมสัมมนาเศรษฐกิจประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีความชัดเจนต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุก ทำให้หลายคนคาดว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป อย่างไรก็ตาม นายเจอโรมกล่าวว่าหากอัตราเงินเฟ้อมีสัญญาณชะลอตัว เฟดอาจชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาจห่างไกลจากปัจจุบัน
คาดการณ์ได้ว่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะยังคงแข็งค่า และวิ่งอยู่ในระดับสูงต่อไป ท่ามกลางความเชื่อว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อค่าเงินยูโร ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรปด้วย หากการประชุมในเดือนกันยายน ECB ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจทำให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นในระยะสั้น แต่คาดว่าขนาดของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำได้ไม่มาก ตราบใดที่ปัญหาต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้นในยุโรปยังไม่ได้รับการแก้ไข ค่าเงินยูโรจะยังคงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
ประเทศในยุโรปกำลังมองหาวิธีจัดการกับวิกฤตพลังงานอย่างจริงจัง นอร์เวย์เพิ่งกล่าวว่ามีแผนที่จะรักษาระดับการผลิตก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน ที่อยู่ในระดับสูงไปจนถึงปี 2030 นอร์เวย์มีสัดส่วน 25% ของอุปทานก๊าซธรรมชาติในยุโรป ในขณะเดียวกัน บางประเทศก็กำลังเตรียมที่จะปฏิรูปราคาไฟฟ้า แคนาดาและเยอรมนีกำลังหารือถึงความเป็นไปได้ในการส่ง LNG จากแคนาดาไปยังเยอรมนี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้บริโภคก่อนฤดูหนาว
ตลาดคาดว่าสถานการณ์ของฝั่งยุโรปจะเริ่มร้อนขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ที่เวลาในการสะสมพลังงานสำรองของยุโรปกำลังจะหมดลง