หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้เปิดเผยข้อมูลรายงานตัวเลขเงินเฟ้อและยอดค้าปลีกในสัปดาห์ที่แล้ว ดัชนีดอลลาร์สหรัฐก็ได้ปรับตัวลดลงมาจากจุดสูงสุดในรอบ 18 เดือน ลงมาทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 20 สัปดาห์ที่ 94.68 ก่อนที่จะเริ่มปรับตัวกลับขึ้นไป ขาขึ้นดังกล่าวทำให้ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของอเมริกายังไม่มีทีท่าว่าจะลดความร้อนแรงลง ในขณะที่สัปดาห์นี้จะมีการรายงานตัวเลขข้อมูลราคาที่อยู่อาศัย และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ส่วนในพื้นที่อื่นๆ จะมีดัชนีราคาผู้บริโภคในยูโรโซน สหราชอาณาจักร และแคนาดา
ตราบใดที่ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ดูเหมือนว่าปัญหาของราคาที่อยู่อาศัยในปี 2022 จะไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่าย และยิ่งมีแต่จะดันให้ราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวสูงขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ปัจจัยเหล่านี้สนับสนุนการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค หลังจากที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐสามารถผ่านแนวต้าน 95 จุดขึ้นไปได้แล้ว แนวต้านถัดไปที่รออยู่คือเส้นค่าเฉลี่ย 10 วันที่ระดับราคา 95.70 จุด และถ้าสามารถผ่าน 96 จุดขึ้นไปได้ เราคาดว่าจะได้เห็นดัชนีดอลลาร์สหรัฐขึ้นถึง 96.40 จุด
ข้อมูลตัวเลขการจ้างงานสร้างผลกระทบต่อสกุลเงินปอนด์
สกุลเงินปอนด์ยังแข็งค่าได้เพราะตลาดลงทุน 78% เก็งกันว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ นอกจากนี้ตลาดลงทุนจะให้ความสำคัญกับการรายงานตัวเลขตลาดแรงงานของสหราชอาณาจักรในวันพรุ่งนี้ ตลอดระยะเวลาที่เกิดโรคระบาดได้ชี้ให้เห็นถึงความไม่สมดุลของอุปสงค์อุปทานในตลาดแรงงานของสหราชอาณาจักร อันเป็นผลกระทบมาจากปัญหาซัพพลายเชนคอขวด การขาดแคลนแรงงานทำให้การคนส่งวัสดุและซัพพลายสำหรับการก่อสร้างต่างๆ ล่าช้า และได้นำไปสู่ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ
หากตัวเลขตลาดแรงงานของสหราชอาณาจักรในวันพรุ่งนี้ออกมาต่ำกว่าตัวเลขในเดือนก่อน จะยิ่งทำให้สกุลเงินปอนด์อ่อนค่า และเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้พิจารณาแนวรับที่ 1.3626 และ 1.3588 ก่อนที่จะมีการรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคและยอดค้าปลีก ในทางกลับกัน หากตัวเลขที่ออกมาหนุนให้สกุลเงินปอนดฺ์แข็งค่า มีโอกาสที่จะได้เห็นเป้าหมายถัดไปของกราฟ GBP/USD อยู่ที่ 1.3830 หรือจุดสูงสุดของสามเดือนที่แล้ว
ข้ามฝากไปที่สถานการณ์ของประเทศแคนาดา ที่ผ่านมาเศรษฐกิจของแคนาดามีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง จนทำให้ตลาดลงทุนเชื่อว่ามีโอกาส 80% ที่ธนาคารกลางแคนาดา (BoC) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งก่อนหน้านี้ BoC เคยกล่าวว่าความเป็นไปได้ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วที่สุดคือเมษายน นั่นจึงทำให้นักลงทุนต่างจับตาดูว่าถ้าตัวเลข CPI และค้าปลีกของแคนาดาออกมาดีกว่าคาด มีโอกาสไหมที่ BoC จะเปลี่ยนใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น
นอกจากการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ได้พูดถึงไปก่อนหน้านี้ ในสัปดาห์นี้จะมีการรายงานภาพรวมตลาดน้ำมันประจำเดือนจาก OPEC และ IEA หากผู้มีสิทธิ์วางนโยบายกำหนดการผลิตน้ำมันยังเชื่อว่าปริมาณการผลิตน้ำมันในปัจจุบันเหมาะสมแล้ว มีโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวขึ้นต่อ และยิ่งสนับสนุนให้ดอลลาร์แคนาดาแข็งค่า ดังนั้นมีโอกาสที่กราฟ USD/CAD อาจลงไปทดสอบจุดต่ำสุดของสามเดือนก่อนที่ 1.2287 และโดยมีแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 1.2693