ตัวเลขเบื้องต้นของดัชนี PMI คอมโพสิตโดย Markit จากสหรัฐอเมริกาในเดือนสิงหาคมออกมาอยู่ที่ 45 จุด ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขครั้งก่อนที่ 47.7 จุด นอกจากนี้ ตัวเลข PMI เบื้องต้นของอุตสาหกรรมการผลิตและบริการยังต่ำกว่าที่คาดไว้ โดยลดลงเหลือ 44.1 จากเดิมที่ 47.3 ส่งผลให้ตลาดมีความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอตัวลงในอนาคตหรือไม่
ก่อนหน้านี้ ดัชนี S&P 500 สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ 17% ตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน โดยได้แรงหนุนจากรายงานผลประกอบการที่ดีขึ้นของบริษัทเอกชนส่วนใหญ่ในไตรมาสที่สอง อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับเปลี่ยนเทรนด์จากขาขึ้นเป็นลงอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและความกังวลทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันหุ้นสหรัฐฯ อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ซึ่งเราคาดว่ามีความเสี่ยงที่ดัชนีหลักของอเมริกาจะปรับตัวลดลงมากกว่า เพราะโอกาสของขาขึ้นนั้นยังมีข้อจำกัด
ประการแรก แม้ว่าข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐในเดือนกรกฎาคมจะลดลงจาก 9.1% ในเดือนมิถุนายน แต่ก็ยังสูงกว่า 8.5% เจ้าหน้าที่จากธนาคารกลางสหรัฐหลายคนบอกใบ้ว่าพวกเขาจะยังคงสนับสนุนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงต่อไปเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งสะท้อนให้เห็นในรายงานการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในเดือนกรกฎาคม อย่างไรก็ตาม นักลงทุนและนักวิเคราะห์กำลังแบ่งฝ่ายถกเถียงว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 หรือ 75 bps กันแน่ จุดที่น่าสังเกตก็คือเมื่อเร็ว ๆ นี้มีคนสนับสนุนฝั่งขึ้นดอกเบี้ย 75 bps มากขึ้น ซึ่งทำให้แรงกดดันต่อหุ้นสหรัฐลดลงเนื่องจากต้นทุนทางการเงิน มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจลากการเติบโตลงในขณะที่กระตุ้นความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักลงทุนต่างกำลังรอถ้อยแถลงของประธานเฟดนายเจอโรม พาวเวลล์ในการประชุมประจำปีที่แจ็คสันโฮล เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม นักลงทุนให้ความสนใจเป็นพิเศษกับมุมมองของเขาเกี่ยวกับแนวโน้มนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ในอนาคต โดยหวังว่าจะพบเบาะแสเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน หากเฟดยังคงนโยบายที่เข้มงวดต่อไป แนวโน้มของหุ้นสหรัฐมีโอกาสเป็นขาลงมากขึ้น หากไม่แล้ว ตลาดหุ้นจะขึ้นจากการผ่อนคลายนโยบายการเงิน
ในทางกลับกัน ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับออกมาไม่เป็นที่น่าพอใจ ตัวเลข PMI ล่าสุดแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นไม่ดี อุตสาหกรรมการผลิตและบริการยังคงหดตัว เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในตลาดส่งออกจำกัดความต้องการอย่างมาก จำนวนคำสั่งซื้อส่งออกใหม่ของสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคมจึงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ การลดลงอย่างรวดเร็วยิ่งทำให้ความกังวลเพิ่มขึ้นไปอีก เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และอาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเช่นยอดขายบ้านใหม่ในสหรัฐฯ ที่ลดลงในเดือนกรกฎาคม 12.6% MoM มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 2.5% และปริมาณการขายบ้านหดตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อลักษณะการวิ่งของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในตอนเย็นของวันที่ 25 สิงหาคม เวลาปักกิ่ง จะมีการประกาศตัวเลข GDP ที่แท้จริงรายไตรมาสต่อปีในไตรมาสที่สองของสหรัฐอเมริกา คาดการณ์ว่าตัวเลขจะออกมาอยู่ที่ -0.8% เทียบกับตัวเลขก่อนหน้านี้ -0.9% หากปรับตัวลดลงสองไตรมาสติดต่อกัน อาจทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าสหรัฐฯ จะมีเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบต่อหุ้นสหรัฐฯ นอกจากนี้ สหรัฐฯ จะมีรายงาดัชนีราคา PCE หลักในสหรัฐอเมริกาในเดือนกรกฎาคม ซึ่งตลาดมีความกังวลว่าตัวเลขที่ออกมาจะลดลงหรือไม่ หาก PCE ออกมาต่ำกว่าที่คาดไว้ ก็มีแนวโน้มว่าจะทำให้มีความเบาใจมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าแรงกดดันขาลงในปัจจุบันของหุ้นสหรัฐกำลังทวีความรุนแรงขึ้น การคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบรุนแรงท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา หรือข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นอีกอาจสร้างแรงกดดันต่อทิศทางหุ้นสหรัฐฯ ในอนาคต อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาพการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนยังไม่ชัดเจน ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานจัยังคงเป็นตัวกำหนดทิศทางตลาดหุ้นในอนาคตอันใกล้