ดัชนี US30 ขึ้นทำจุดสูงสุดตลอดกาลได้ในปี 2023 แต่ขาขึ้นนั้นกำลังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันเพราะความคาดหวังที่นักลงทุนในตลาดมีต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดลง
กราฟ US30 รายสัปดาห์
ดัชนี US30 ขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนธันวาคมเหนือ 37,000 และยังคงขยับ9y;สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การกลับไปทดสอบว่าระดับราคา 37,000 ถือเป็นความเสี่ยงต่อดัชนีในระยะสั้น เทรดเดอร์ควรจับตาดูแนวรับที่ 37,200 เพราะมีโอกาสเป็นไปได้ที่ราคาจะเด้งกลับ
คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ (Chris Waller) ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดความคาดหวังที่ตลาดมีต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้
“ผมมั่นใจมากขึ้นว่าเราอยู่ในระยะที่สามารถบรรลุระดับเงินเฟ้อในการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่ยั่งยืน 2% ได้” คริสโตเฟอร์กล่าวในงานซึ่งจัดโดยสถาบัน Brookings เมื่อวันอังคาร
“ตราบใดที่อัตราเงินเฟ้อไม่ฟื้นตัวและยังคงอยู่ในระดับสูง ผทเชื่อว่า FOMC จะสามารถลดกรอบเป้าหมายของอัตราเงินกองทุนงรัฐบาลกลางในปีนี้ได้”
แต่วอลเลอร์ย้ำว่าอาจมีการปรับลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง… ไม่ใช่ 6 ครั้งอย่างที่ตลาดต้องการ…
“ความคิดนี้สอดคล้องกับการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของ FOMC ในเดือนธันวาคม ซึ่งการประมาณโดยเฉลี่ยคือการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 25 จุดเบสิสสามครั้งในปี 2024”
และแน่นอนว่าไม่เห็นความจำเป็นในการดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในตลาด:
“เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมที่จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ย ผมเชื่อว่าสามารถทำได้และควรลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นระบบและรอบคอบ” เขากล่าว
“ในสถานการณ์ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานอยู่ในสภาพดี และอัตราเงินเฟ้อลดลงทีละน้อยเหลือ 2% ผมจึงไม่เห็นเหตุผลที่จะต้องดำเนินการเร็ว หรือลดดอกเบี้ยลงเร็วเหมือนในอดีต”
เขาย้ำว่าระยะเวลาในการลดดอกเบี้ยและจำนวนจริง “จะขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจที่ประกาศออกมา” โดยเน้นย้ำถึงตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งอย่างน่าประหลาดใจในรายงานการจ้างงานในเดือนธันวาคมว่าเป็น “สัญญาณอุปสรรคใหญ่” เมื่อเทียบกับแนวโน้มข้อมูลอื่นๆ ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เขาตั้งข้อสังเกตว่ารายงานการจ้างงานในปี 2023 หลายฉบับถูกปรับตัวเลขให้ลดลง และ “มีโอกาสที่ดีที่จะปรับข้อมูลเดือนธันวาคมให้ลดลง”
สรุปก็คือคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ชี้แจงอย่างชัดเจนว่าเฟดไม่รีบร้อนที่จะดำเนินการ:
“ผมเชื่อว่ามีการกำหนดนโยบายอย่างเหมาะสม” เขากล่าว
“มันมีข้อจำกัดและควรสร้างแรงกดดันต่ออุปสงค์ให้ลดลงต่อไป เพื่อให้เราสามารถกดให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับปานกลางได้ต่อไป”
นั่นส่งผลให้อัตราต่อรองของสหรัฐฯ ลดลงเหลือ 60% ในเดือนมีนาคม ลดลงจาก 80% เมื่อต้นปี และสร้างแรงกดดันให้กับดัชนีหุ้นสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้