วิกฤตน้ำมันมักจะมีตัวบ่งชี้ที่ขึ้นอยู่กับราคาที่พุ่งขึ้นทั่วโลกภายในระยะเวลาอันสั้น ราคาน้ำมันที่แพงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสองสามสัปดาห์หรืออยู่นานเป็นเดือนมักจะส่งผลที่ไม่ค่อยดีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวนั้นเป็นผลมาจากวิกฤตน้ำมัน
มีวิกฤตน้ำมันที่โด่งดังอยู่ 3 ครั้ง เกิดในปี 1973 1979 และ 1990 โดยหนึ่งในสองเหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นโดย “น้ำมือของมนุษย์” และอีกสองเหตุการณ์เกิดขึ้นโดย “ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้”
นอกเหนือจากวิกฤตน้ำมัน 3 ครั้งดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีปี 2000 และ 2020 ที่ถูกพิจารณาว่าเป็นวิกฤตการณ์น้ำมันขนาดกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2020 ที่ราคาส่งมอบน้ำมันดิบร่วงลงจนติดลบ
วิกฤตน้ำมันในปี 1973
วิกฤตน้ำมันในปี 1973 เกิดขึ้นพร้อมกับสงครามตะวันออกกลางครั้งที่สี่ ที่อียิปต์และกรีซร่วมือกันเพื่อจะยึดคาบสมุทรซีนายและที่ราบสูงโกลันของอิสราเอล และเพราะประเทศตะวันตกที่นำโดยสหรัฐอเมริกานั้นสนับสนุนอิสราเอล ทำให้องค์กรส่งออกน้ำมันแห่งชาติอาหรับ (ไม่ใช่กลุ่มโอเปก) จึงตัดสินใจใช้มาตรการห้ามส่งน้ำมัน
ประเทศที่ถูกกำหนดเป็นเป้าหมายไม่ส่งน้ำมันดิบให้ในขั้นต้น ได้แก่ แคนาดา ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้ขยายการห้ามส่งไปยังโปรตุเกส โรดีเซีย และแอฟริกาใต้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบที่นำเข้ามาในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 3 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ก่อนจะเป็น 12 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรลในภายหลังที่มีการห้ามส่งน้ำมัน วิกฤติดังกล่าวยังทำให้สหรัฐฯ เริ่มให้ความสนใจกับปัญหาอุปทานน้ำมันส่วนใหญ่ หลังจากที่ปรากฏว่าประเทศอื่น ๆ สามารถระงับสินค้าสำคัญที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ ยังได้คิดค้นคำศัพท์ใหม่ที่เรียกว่า “อาวุธน้ำมัน”
วิกฤตน้ำมันปี 1979
วิกฤตการณ์น้ำมันในปี 2522 เกิดขึ้นจากการปฏิวัติของอิหร่าน ซึ่งทำให้โคมัยนีกลายเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศหลังจากโค่นล้มระบอบกษัตริย์ราชวงศ์ปาห์ลาวี โคมัยนีได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองให้เป็นสาธารณรัฐอิสลามหลังขึ้นเป็นผู้นำสูงสุด การปฏิวัติอิหร่านมีความคล้ายคลึงอย่างมากกับการปฏิวัติของจีนในปี 1911 ที่โค่นล้มราชวงศ์ชิงซึ่งสิ้นสุดการปกครองของจักรพรรดิและสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นหลังจากการโค่นล้มสถานบันกษัตริย์
ดังนั้น การปฏิวัติจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของอิหร่าน ในช่วงการปฏิวัติอิหร่าน การผลิตและการส่งออกน้ำมันของประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดช่องว่างอุปทานน้ำมัน 500,000 บาร์เรลต่อวันในตลาดน้ำมันดิบระหว่างประเทศ
บทสรุป
สุดท้าย เทรดเดอร์ไม่มีความจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องวิกฤตน้ำมันทั้ง 3 ครั้งเพื่อซื้อขายน้ำมันดิบ สิ่งที่ควรจะโฟกัสคือน้ำมันดิบคงคลังและข้อตกลงการผลิตของโอเปก
แต่หากว่าคุณต้องการทราบเหตุผลเบื้องหลังของราคาน้ำมัน คุณต้องทำความคุ้นเคยกับความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ นอกเหนือจากนี้ คุณต้องมีจิตวิทยาในการทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงในที่สาธารณะเมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในอดีต และด้วยเหตุผลนี้ การเรียนรู้เรื่องราวของวิกฤตน้ำมันจึงมีคุณค่าอย่างมาก
ดาวน์โหลด Metatrader 4 หรือทดลองใช้ บัญชีเดโม่ เพื่อทดลองการซื้อขายน้ำมันดิบได้แล้ววันนี้