ทองคำเป็นแร่โลหะประเภทหนึ่งที่มนุษยชาติยกให้เป็นแร่โลหะมีค่าที่สามารถใช้เป็นตัวกลางซื้อขายแลกเปลี่ยนไม่ว่าคุณจะอยู่ในที่ใดของโลกใบนี้ก็ตาม ถึงแม้ว่าในยุคปัจจุบันโลกของเราจะมีระบบการเงินที่เอามาใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนแทนทองคำ แต่แร่โลหะชนิดนี้ก็ยังได้รับความนิยมในฐานะสินทรัพย์สำรองปลอดภัยอันดับหนึ่ง
หากสังเกตดีๆ จะเห็นว่าในยามที่เศรษฐกิจโลกเป็นปกติ ราคาทองคำจะปรับตัวลดลง แต่ถ้าเศรษฐกิจโลกกำลังตกอยู่ในภาวะความเสี่ยง ราคาทองคำจะปรับตัวขึ้น ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่าอุปสงค์และอุปทานในโลกของทองคำมีอะไรบ้าง และอะไรคือแรงผลักดันให้ตลาดแห่งนี้มีการขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา
อุปทานของทองคำ
1. การขุดเหมืองทองคำ
แหล่งที่มาของอุปทานทองคำคือการขุดทอง ในช่วงปีแรกๆ แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่ทำเหมืองทองคำขนาดใหญ่ ความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดคือสามารถขุดทองได้มากกว่า 1,000 ตันต่อหนึ่งปี สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ลักษณะตามกลไกเศรษฐศาสตร์ของการขุดทรัพยากรธรรมชาติคือ: ต้นทุนการขุดในช่วงแรกจะต่ำ ความยากลำบากในการขุดมีน้อย แต่ในภายหลัง เมื่อมีความนิยมมากขึ้น ทรัพยากรลดลง ความยากและต้นทุนในการขุดก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ความเป็นจริงข้อนี้เกิดขึ้นกับการขุดเหมืองทองคำด้วย หลังจากที่การทำเหมืองทองคำเติบโตไปได้ระยะหนึ่ง นักขุดเหมืองรุ่นหลังก็จะถูกบังคับให้เข้าไปขุดในจุดที่ยากขึ้น ซึ่งต้องใช้ต้นทุนมากกว่ากลุ่มที่มาขุดไปก่อนหน้า
หลังจากนั้น การผลิตเหมืองทองคำในแอฟริกาใต้ก็ลดลง อันดับการผลิตเหมืองทองคำในประเทศอื่นๆ กลับปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลในปี 2021 จีนได้กลายเป็นประเทศที่มีการผลิตเหมืองทองคำมากที่สุดในโลก ดังที่แสดงในรูปด้านล่าง:
ในปี 2021 เหมืองทองคำของจีนสามารถขุดทองคำออกมาได้ 368.3 ตัน แม้ว่าจะไม่ได้ดีเท่ากับจุดสูงสุดตลอดกาล 1,000 ตันของแอฟริกาใต้ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลกในปัจจุบัน นอกจากจีนแล้ว ประเทศอื่นๆ ที่มีความสามารถในการขุดและสร้างเหมืองทองคำได้แก่รัสเซีย 331.1 ตัน ตามมาด้วยออสเตรเลีย 327.8 ตัน ปัจจุบันแอฟริกาใต้อยู่ในอันดับที่ 11 โดยมีผลผลิต 99.2 ตันต่อปี
เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มของทองคำในอนาคต นักลงทุนจะไม่ค่อยสนใจเรื่องความสามารถในการขุดทองคำของแต่ละปี เพราะความสามารถในการขุดทองคำได้มากที่สุดของประเทศที่สามารถขุดทองได้ในปัจจุบันน้อยกว่า 400 ตัน ดังนั้นไม่ว่าจะขุดได้มากขึ้นหรือลดลงก็ไม่ส่งผลต่อราคาทองคำในปัจจุบัน
2. ทองคำในฐานะสินทรัพย์สำรองของธนาคารกลาง
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าธนาคารกลางมีสิทธิในการพิมพ์เงินพันธบัตรเอาไว้เป็นตัวกลางการแลกเปลี่ยนมูลค่าภายในประเทศนั้นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเงินพันธบัตรที่พิมพ์ออกไปนั้นมีมูลค่าที่เหมาะสม ธนาคารกลางจะต้องซื้อทองคำมาเป็นสินทรัพย์อ้างอิงมูลค่าให้เพียงพอเพื่อให้ระบบการเงินมีสมดุลยภาพ
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจบลง สหรัฐฯ ได้ใช้กฎที่เรียกว่า “Bretton Woods” ซึ่งเป็นการใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นทองคำ ความมั่งคั่งของสหรัฐฯ หลังสงครามโลกครั้งที่สองทำให้ทั้งโลกเหมือนจะยอมรับระบบการเงินนี้ไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสหรัฐฯ ไม่ได้ใช้กฎนี้แล้ว และปัจจุบันมูลค่าของดอลลาร์ก็ไม่ได้อ้างอิงกับทองคำอีกต่อไป แต่อ้างอิงกับศักยภาพในการรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจอเมริกา
สำหรับธนาคารกลางอื่นๆ นอกจากสหรัฐอเมริกา จำนวนเงินสำรองรวมดอลลาร์มักจะมีปริมาณสูงกว่าทองคำ แต่ถึงอย่างไร ดอลลาร์สหรัฐก็ยังคงเป็นสกุลเงินกระดาษ ไม่ต่างจากสกุลเงินอื่นๆ ที่มีมีค่าเสื่อมราคาซึ่งเกิดจากอุปทานส่วนเกิน ดังนั้นแม้ว่าสถานะทองคำจะลดลง แต่เงินสำรองทั้งหมดจะต้องคงไว้จำนวนหนึ่ง
อุปสงค์ของทองคำ
1. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
การสวมใส่เครื่องประดับที่ทำมาจากทองคำถือเป็นสิ่งที่ทำกันมาในทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะอย่างอย่างชาวจีนและชาวอินเดียที่ให้ความสำคัญกับทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่แสดงถึงความมั่งคั่งเป็นพิเศษ ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ อย่างเช่นงานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานมงคลต่างๆ ทองคำจะเป็นตัวเลือกแรกที่ฝ่ายผู้เข้าร่วมงานจะมอบให้กับอีกฝ่ายเสมอ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสถิติที่เชื่อถือได้ ในปี 2020 ปริมาณความต้องการทองคำสำหรับเครื่องประดับมีตัวเลขอยู่ที่ 1.401.1 ตัน เฉพาะจีนและอินเดียรวมกันคิดเป็นความต้องการทองคำเป็นอันดับสองของโลก
2. ทองคำเพื่อการลงทุน
การลงทุนในทองคำถือเป็นสัดส่วนความต้องการทองคำที่มีมากที่สุด อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสถิติที่เชื่อถือได้ ในปี 2020 ปริมาณความต้องการทองคำสำหรับลงทุนมีตัวเลขอยู่ที่ 1.773.3 ตัน สูงที่สุดในบรรดาความต้องการทองคำทุกประเภท ที่สำคัญจำนวน 1773.3 ตันถือว่ามากกว่าตัวเลขความต้องการในปี 2019 ซึ่งมีตัวเลขอยู่ที่ 1274.6 ตัน
โดยสรุปแล้ว
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับอุปสงค์ปละอุปทานของทองคำถือเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการเป็นนักลงทุนหรือเทรดเดอร? สำหรับตลาดลงทุนระดับโลก นักลงทุนจะให้ความสนใจกับทองคำในฐานะสินทรัพย์คานความเสี่ยงในยามที่เศรษฐกิจมีปัญหาเช่นการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน นอกจากนี้นักลงทุนจะให้ความสนใจกับจำนวนปริมาณทองคำสำรองของธนาคารกลาง โดยเฉพาะประเทศที่เป็นฐานเศรษฐกิจหลักของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา ประเทศจีน เป็นต้น
เรียนรู้การลงทุนด้วยการเปิดบัญชี MT4 หรือทดลองเทรดในบัญชีเงินสมมุติเพื่อเริ่มต้นเส้นทางการลงทุนได้เลย!