นอกจากความสามารถในการเทรด และความเข้าใจตลาด นักลงทุนที่ดีควรจะสามารถคำนวณต้นทุนการทำธุรกรรมในตลาดฟอเร็กซ์ได้ ความรู้ความเข้าใจในส่วนนี้จะช่วยให้นักลงทุนสามารถควบคุมความเสี่ยงได้เหนือกว่านักลงทุนธรรมดาทั่วไป นักลงทุนมือใหม่ส่วนมากมักจะให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคมากเกินไป จนลืมสนใจความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากมาร์จิ้นของกำไรและขาดทุน ส่วนใหญ่แล้วทุกคนมักจะสนใจเพียงแต่ตัวเลขกำไรขาดทุนที่แพลตฟอร์ม MT4 คำนวณมาให้เท่านั้น
ยกตัวอย่างเช่นหากนายเอต้องการเทรดในคู่สกุลเงิน EURUSD เขามีเงินในบัญชีเทรดอยู่ $1,000 และวางจุดตัดขาดทุน (stop-loss) ล่วงหน้าเอาไว้ 10 จุด คำถามคือเขาต้องใช้จำนวนลอตเท่าไหร่ในการเทรด? หากคุณเป็นนายเอ ที่ไม่เคยคำนวณมาร์จิ้นมาก่อน คุณจะไม่มีทางตอบคำถามข้อนี้ได้เลย ซึ่งนั่นหมายถึงความสามารถในการควบคุมความเสี่ยงด้วย
ถึงแม้ว่ามหาสมุทรจะกว้างใหญ่ไพศาล ไร้ขอบเขต แต่ถ้าคุณล่องเรือออกไปหาปลาโดยรู้แค่จะออกไปหาปลา แต่ไม่รู้ว่าจะจับปลาอะไร จับปลาตรงไหน และถ้าเอากลับมาขาย จะขายให้ใคร ได้กำไรมากกว่าหรือน้อยกว่าเมื่อเทียบกับปลาอีกชนิด คุณก็ไม่มีทางประสบความสำเร็จกับการทำงานในอาชีพชาวประมงได้ นี่คือเหตุผลว่าทำไมการคำนวณมาร์จิ้นหรือต้นทุนของแต่ละสิ่งที่คุณกำลังจะลงมือทำนั้นจึงสำคัญ และเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณจะควรอ่านบทความนี้
1. พื้นฐานการจับคู่สกุลเงินของตลาดฟอเร็กซ์
ในโลกของการเทรดฟอเร็กซ์ ระบบจะนำเอาสกุลเงินหลักมาจับคู่กับสกุลเงินรอง สกุลเงินหลักคือสกุลเงินที่เราเห็นอยู่ทางด้านซ้าย และสกุลเงินรองจะเป็นสกุลเงินที่อยู่ทางด้านขวา ยกตัวอย่างเช่นคู่สกุลเงิน USDJPY สกุลเงินที่เป็นตัวหลักคือ USD และสกุลเงินที่เป็นตัวรองคือ JPY
สกุลเงิน USD หรือดอลลาร์สหรัฐไม่จำเป็นต้องเป็นสกุลเงินหลักเสมอไป เราสามารถพบสกุลเงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินรองเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นได้ทั่วไปเช่น EURUSD GBPUSD เป็นต้น
สมมุติว่าตลาดฟอเร็กซ์กำหนดว่ามูลค่ารวมของคำสั่งธุรกรรมคือ 100,000 ธุรกรรมซึ่งอ้างอิงจากสกุลเงินหลัก ในขณะที่เทรดเดอร์มือใหม่หลายคนคุ้นเคยกับการพูดว่าคำสั่งซื้อขายคือ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดไปจากความจริงเป็นอย่างมาก สำหรับกราฟ USDJPY, USDCAD และ USDCHF การเข้าใจว่า 100,000 คือ หนึ่งแสนดอลลาร์สหรัฐคือความเข้าใจที่ถูกแล้ว แต่ถ้าเป็น EURUSD GBPUSD หรือ AUDUSD ขึ้นมา ตัวเลขจำนวน 100,000 ที่เห็นจะหมายถึง หนึ่งแสนยูโร หนึ่งแสนปอนด์ และหนึ่งแสนดอลลาร์ออสเตรเลีย
เมื่อยอดคำสั่งซื้อเท่ากับ 0.1 ล็อต มูลค่ารวมของสัญญาคือ 10,000 ที่อ้างอิงกับสกุลเงินหลัก ถ้าสกุลเงินหลักไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อยอดคำสั่งซื้อเท่ากับ 0.01 ล็อต มูลค่ารวมของสัญญาคือ 1,000 ของสกุลเงินเงินหลักนั้นๆ ที่ไม่ใช่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
2. มาร์จิ้นลอยตัวและมาร์จิ้นตายตัว
ในตลาดฟอเร็กซ์เราสามารถแบ่งมาร์จิ้นออกได้เป็นสองประเภท อย่างแรกคือมาร์จิ้นลอยตัว (Floating Margin) การคำนวณมาร์จิ้นแบบนี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เป็นการคำนวณตามหลักคณิตศาสตร์ปกติ ยกตัวอย่างเช่นโบรกเกอร์เอมีการคำนวณค่าเลเวอเรจจากราคาซื้อขายในตลาดลงทุนปกติ 200 เท่า หมายความว่าเมื่อคุณเทรด USDJPY ด้วยขนาด 1 ล็อต จะเท่ากับว่าคุณลงทุนซื้อสกุลเงินดอลลาร์ 100,000 และได้เลเวอเรจมา 200 คำนวณออกมากลายเป็นมาร์จิ้น 500 ดอลลาร์สหรัฐ
จากโจทย์เดียวกัน (เลเวอเรจ 200 เท่า) แต่เปลี่ยนจาก USDJPY กลายเป็น EURUSD เราลงทุนกับกราฟตัวนี้ 1 ลอตเช่นกัน จะเท่ากับว่าคุณลงทุนซื้อสกุลเงินยูโร 100,000 และได้เลเวอเรจมา 200 คำนวณออกมากลายเป็นมาร์จิ้น 500 ยูโร ข้อมูลสำคัญที่ควรทราบคือโดยปกติแล้วบัญชี MT4 จะคำนวณเงินออกมาเป็นดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นคุณจึงต้องคำนวณ 500 ยูโรกลับมาเป็นดอลลาร์สหรัฐเอง
สมมติว่าอัตราแลกเปลี่ยน EURUSD ปัจจุบันคือ 1.2 วิธีการคำนวณคือการคูณส่วนต่างของเงินยูโรทั้งหมด 500 ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันที่ 1.2 เพื่อให้ได้มาร์จิ้น USD ที่ 600 นอกจากมาร์จิ้นแบบลอยตัวแล้วยังมีโบรกเกอร์ที่ใช้การคำนวณแบบตายตัว ซึ่งเป็นรูปแบบที่ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าไหร่
อันที่จริงคำว่า “มาร์จิ้นตายตัว” ก็เป็นตัวบ่งบอกแล้วว่าจำนวนมาร์จิ้นจะถูกล็อกไว้ ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง การคำนวณมาร์จิ้นแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่พึ่งเริ่มศึกษาการลงทุน ยกตัวอย่างเช่นมาร์จิ้น 1 ล็อตสำหรับ EURUSD อยู่ที่ $500 จำนวณมาร์จิ้นนั้นก็จะไม่ถูกนำไปคำนวณเพิ่มเติม เทรดเดอร์จะสามารถคำนวณเปรียบเทียบกับมาร์จิ้นกับโบรกเกอร์อื่นๆ ได้ด้วยตัวเอง
3. หลักการคำนวณกำไรและขาดทุนเพื่อเข้าใจ point value
พอยท์แวลูล (point value) คือมูลค่าของจุดหนึ่งจุดในตลาดฟอเร็กซ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ตลาดแห่งนี้ไม่นิยมใช้เปอร์เซ็นต์เป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงของราคาเหมือนอย่างเช่นในตลาดหุ้น ดังนั้นนักลงทุนจึงได้กำหนดจุด (pip) ขึ้นมาเรียกแทนการเปลี่ยนแปลงของราคา ยกตัวอย่างเช่นกราฟ EURUSD ปรับตัวขึ้นจาก 1.2000 เป็น 1.2001 (หรือปรับตัวลดลงเป็น 1.999) เช่นนี้สามารถพูดได้ว่ากราฟ EURUSD ปรับตัวเพิ่มขึ้น/ลดลง 1 จุด
วิธีการคำนวณมูลค่าของจำนวนจุดที่เปลี่ยนแปลงไป
ขั้นตอนนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับ 100,000 ของสกุลเงินหลักที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ ในการอธิบายหัวข้อนี้ เราขอยกตัวอย่างด้วยการอธิบายจากกราฟ EURUSD ดังนั้น 100,000 ในทีนี้จึงจะมีค่าเท่ากับ 100,000 ยูโรตามสกุลเงินหลัก และการเปลี่ยนจากสกุลเงินยูโรไปเป็นดอลลาร์สหรัฐจะคิดเป็น 120,000 ดอลลาร์สหรัฐ (อ้างอิงเรตจาก 1.2 ตามที่ได้ยกตัวอย่างไปก่อนหน้านี้)
เมื่ออัตราการแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นเป็น 1.2001 มูลค่าของสัญญาการซื้อขายทั้งหมดจะมีมูลค่าอยู่ที่ $120,010 เมื่อเทียบจาก 120,010 จาก 120,000 ดอลลาร์สหรัฐ หมายความว่าเราได้ค่าส่วนต่างมา $10 ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า pip value ของการเทรดกราฟ EURUSD จากการยกตัวอย่างนี้จึงมีมูลค่าอยู่ที่ $10
ด้วยวิธีการเดียวกัน เราสามารถใช้วิธีการคำนวณนี้กับกราฟตัวอื่นได้ ยกตัวอย่างเช่น USDJPY เมื่อสกุลเงินหลักเป็น USD ดังนั้น 100,000 จึงมีมูลค่าเท่ากับ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ สมมุติว่าอัตราการแลกเปลี่ยนของ USDJPY ในปัจจุบันอยู่ที่ 104.00 เมื่อราคามีการเปลี่ยนแปลงจาก 104.00 ขึ้นไปเป็น 104.01 จะเท่ากับว่ามูลค่าของการซื้อขายนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็น 1040100
เมื่อหักลบส่วนต่างจาก 10401,000 หลังจากเปลี่ยนมาจาก 10,400,000 คุณจะได้รับส่วนต่างมา 1,000 เยน จากนั้นเปลี่ยน 1,000 เยนให้กลายเป็นดอลลาร์สหรัฐ ที่หารด้วย 1,000 จาก 104.1 เท่ากับว่าคุณจะได้ pip value จากกราฟ USDJPY มาอยู่ที่ 9,606
4. วิธีการคำนวณกำไรและขาดทุน
วิธีการคำนวณกำไรและขาดทุนของคู่สกุลเงินที่กำไรอยู่ไม่ได้มีความยุ่งยากซับซ้อน เพียงนำค่าความต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขายมาลบกัน คุณก็จะได้ตัวเลขกำไรและขาดทุนของแต่ละคำสั่งซื้อ หากคุณต้องการคำนวณออกมาเป็นหน่วยสกุลเงินของดอลลาร์สหรัฐ คุณสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้ ไปคูณ 10 ก็จะได้กำไรออกมาเป็นดอลลาร์สหรัฐ
แต่หากต้องการคำนวณกำไรและขาดทุนจากสกุลเงินรอง แทนที่จะเริ่มคำนวณจากสกุลเงินหลัก คุณจะต้องไปเริ่มคำนวณกำไร/ขาดทุนจากสกุลเงินรองแทน การคำนวณด้วยวิธีนี้อาจจะยุ่งยากกว่าการคำนวณด้วยวิธีปกติอยู่บ้าง ตารางด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างอ้างอิงการคำนวณ point value จากสกุลเงินรอง ที่อ้างอิงราคาซื้อขายตามตลาดในวันที่ 24 พฤศจิกายนปี 2020 นักลงทุนที่สนใจการคำนวณด้วยวิธีนี้สามารถอ้างอิงวิธีการตามตารางด้านล่างนี้ได้:
Currency pair | Spot exchange rate | Point value |
USDJPY | 104.3 | 9.59 |
USDCHF | 0.9102 | 10.99 |
USDCAD | 1.3026 | 7.68 |
USDTRY | 7.8777 | 1.27 |
USDCNY | 6.5762 | 1.52 |
USDRUB | 75.7109 | 0.13 |
จริงอยู่ว่าเราไม่จำเป็นต้องคำนวณด้วยตัวเองให้ยุ่งยาก เพราะโปรแกรม MT4 ได้คำนวณทุกสิ่งทุกอย่างในบทความนี้เอาไว้ให้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว แต่เทรดเดอร์ที่สามารถคำนวณค่ามาร์จิ้นในการทำธุรกรรมได้เอง มีโอกาสที่จะเห็นความเสี่ยงที่แฝงอยู่ในตัวเลขเหล่านี้ได้มากกว่า หากเราเต็มใจที่จะทำให้ชีวิตเผชิญกับความท้าทาย ชีวิตของเราที่เหลือก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย ในทางกลับกัน หากเราเต็มใจที่จะทำให้ชีวิตมีแต่ความเรียบง่าย สะดวกสบาย ชีวิตของเราที่เหลือก็จะมีแต่ความยุ่งยาก
เรียนรู้การลงทุนด้วยการเปิดบัญชี MT4 หรือทดลองเทรดในบัญชีเงินสมมุติเพื่อเริ่มต้นเส้นทางการลงทุนได้เลย!