เทรดเดอร์บางคนทำการวางคำสั่งซื้อขายโดยเพียงแค่คลิกที่หน้าจอคำสั่ง F9 และคลิก “ซื้อหรือขาย” โดยไม่สนใจว่าราคาที่ตัวเองกำลังเอาเงินทุนไปลงทุนนั้นจะต้องเผชิญกับอะไร มีโอกาสน้อยถึงน้อยมากที่การวางคำสั่งซื้อขายในแต่ละครั้ง เราจะได้ราคาที่เล็งไว้ในตอนก่อนซื้อพอดี ต่อให้ไม่มีเหตุการณ์สลิปเพจเกิดขึ้นก็ตาม เพราะในความเป็นจริงนั้น ราคาในตลาดเคลื่อนที่ขึ้นลงอย่างรวดเร็วกว่าที่เราจะกดตามด้วยตัวเองทัน
สำหรับนักลงทุนที่ตั้งคำถามว่าทำไมแทบจะทุกครั้งที่วางคำสั่งซื้อขาย พวกเขาจึงไม่เคยได้ราคาที่ต้องการเลย เมื่อได้หาสาเหตุที่มาของคำถามนั้น จึงได้พบว่าที่จริงแล้วตลาดมีสิ่งที่เรียกว่าราคาเสนอซื้อ (Bid) และราคาเสนอขาย (Ask) ที่เป็นตัวทำให้พวกเขาไม่สามารถเข้าลงทุนในราคาที่ต้องการได้ ในบทความนี้เราจะมาอธิบายให้ฟังว่าทำไมราคาเสนอซื้อและขายจึงมีความสำคัญต่อทั้งฝั่งนักลงทุนและธนาคาร
1. ราคาเสนอซื้อ (Bid) และราคาเสนอขาย (Ask) ไม่เท่ากัน
ความจริงประการหนึ่งที่นักลงทุนควรทราบคือไม่มีตลาดลงทุนไหนที่มีราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขายเท่ากัน แม้แต่ตลาดหุ้นที่ใหญ่ที่สุดของโลกอย่างวอลล์ สตรีทเองก็มีราคาซื้อขายหุ้นบางตัวไม่เท่ากับตลาดเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต เพราะทั้งสองตลาดมีสิ่งที่เรียกว่าค่าธรรมเนียม (Spread) ที่ต่างกันออกไปในหุ้นแต่ละตัว ทำให้การซื้อหุ้นตัวเดียวกัน ในตลาดที่ต่างกัน ได้ราคาที่ไม่เท่ากัน
ความเป็นจริงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับเฉพาะตลาดหุ้น แต่รวมไปถึงตลาดฟอเร็กซ์ด้วย แม้แต่คู่สกุลเงินที่มักจะมีค่าสเปรดต่ำที่สุดในทุกๆ โบรกเกอร์อย่าง EURUSD ยังมีราคาเสนอซื้อและขายที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นสมมุติว่าอยู่ในเวลาเดียวกันที่ 12:30 ราคาเสนอซื้อของ EURUSD ในช่วงเวลานั้นอาจจะอยู่ที่ 1.1965 แต่ราคาเสนอขายกลับอยู่ที่ 1.1967 เมื่อทำมาเทียบกันแล้ว จะเห็นได้ว่ามีค่าสเปรดอยู่ที่ 0.0002 หรือที่ภาษานักลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์มักจะเรียกว่า “ห่างกัน 2 จุด”
2. ค่าสเปรด (Spread) คือรายได้หลักของแพลตฟอร์มผู้ให้บริการลงทุน (โบรกเกอร์ & ธนาคาร)
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการลงทุนในตลาดหุ้นหรือฟอเร็กซ์ทุกวันนี้ ผู้ให้บริการคือผู้ที่ไปดึงราคามาจากตลาดหลักให้เราได้ลงทุน ดังนั้นพวกเขาจึงมีสิทธิ์ที่จะทำกำไรจากการเป็นตัวกลางระหว่างนักลงทุนกับตลาดลงทุน หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า “ค่าธรรมเนียม (fee)” ซึ่งในตลาดฟอเร็กซ์ เราจะเรียกค่าธรรมเนียมนี้ว่า “ค่าสเปรด (spread)” สาเหตุที่โบรกเกอร์เหล่านี้ต้องทำกำไรจากค่าสเปรดเนื่องจากเป็นแหล่งรายได้เดียวของพวกเขา โดยส่วนมากโบรกเกอร์ออนไลน์เหล่านี้จะไม่มีการเก็บค่าคอมมิชชัน
3. สำหรับนักลงทุนบุคคลธรรมดา ค่าเสเปรดคือต้นทุน
จากเหตุผลที่ได้อธิบายไปในข้อที่ 2 กำไรที่โบรกเกอร์จะได้รับ จึงกลายมาเป็นต้นทุนให้กับนักลงทุน หากพูดกันตามทฤษฎีแล้ว วิธีการลงทุนที่จะประหยัดต้นทุนให้กับฝั่งนักลงทุนมากที่สุดคือ การได้วางคำสั่งซื้อในราคาที่ต่ำที่สุด และการได้วางคำสั่งขายในราคาที่สูงที่สุด
แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นก็คือ คุณไม่ใช่คนๆ เดียวที่เห็นราคาที่ต่ำหรือสูงที่สุด ในขณะที่คุณกำลังวางคำสั่งซื้อขาย ก็มีคนที่เห็นตำแหน่งราคานั้นเช่นกัน นั่นจึงเป็นเหตุผลอธิบายว่าทำไมเวลาที่คุณวางคำสั่งซื้อในจุดที่คิดว่าต่ำสที่สุดแล้ว คุณจึงยังได้ราคาที่สูงกว่าที่ต้องการในตอนแรก เพราะนอกจากค่าสเปรดแล้ว ยังมีนักลงทุนอีกหลายคน ที่กำลังแย่งซื้อหรือขายในราคาเดียวกันกับคุณอยู่
ตามการกำหนดราคาในโปรแกรม MT4 ที่โบรกเกอร์ทำสัญญากับบริษัทผู้ผลิต MT4 เพื่อขอกำหนดราคาเอง ราคาขายมักจะถูกวางไว้ที่ด้านซ้ายของแผงคำสั่ง และราคาซื้อมักจะวางไว้ที่ด้านขวาของแผงคำสั่ง ในแผง K-line ราคาเสนอซื้อสูงกว่า จึงเป็นเส้นแนวนอนด้านบน ราคาเสนอขายที่ต่ำกว่า จึงเป็นเส้นแนวนอนด้านล่าง
4. วิธีการเรียกเส้นแสดงราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขายให้ปรากฎออกมาบนหน้าจอ
โดยปกติแล้วโปรแกรม MT4 จะแสดงเส้นราคาเสนอขายออกมาบนหน้าจอ (เส้นแนวนอนสีเทา) แต่เส้นราคาเสนอซื้อนั้นจะไม่ถูกตั้งค่าให้ปรากฎออกมาตั้งแต่แรก สำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดในไทม์เฟรมปกติ จะไม่เห็นความแตกต่างระหว่างการมีหรือไม่มีเส้นราคาเสนอซื้อ แต่สำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดในกราฟรายนาที เส้นราคาเสนอซื้อถือว่ามีความสำคัญสำหรับพวกเขามาก เพราะค่าสเปรดที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาหมายถึงกำไรและขาดทุนที่เขาจะได้ในการวางคำสั่งซื้อขายแต่ละครั้ง
หลังจากติดตั้งซอฟต์แวร์โปรแกรม MT4 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิ๊กที่ปุ่ม F8 บนคีย์บอร์ดเพื่อดึงหน้าต่าง “คุณสมบัติ (properties)” ขึ้นมา จากนั้นให้เลือกที่คำว่า “แสดงเส้นราคาเสนอซื้อ (Show Bid Line)” ที่บริเวณมุมขวาด้านล่าง โดยติ๊กในช่องสี่เหลี่ยมที่อยู่ด้านหน้าของคำดังกล่าว จากนั้นคลิ๊กที่คำว่า “โอเค (OK)” เมื่อดำเนินการตามนี้ คุณจะได้เส้นราคาเสนอซื้อขึ้นมาอยู่เหนือเส้นราคาเสนอขาย
5. ระบบจะเก็บค่าสเปรดเมื่อไหร่ ตอนที่เปิดหรือปิดคำสั่งซื้อขาย?
สำหรับคำถามข้อนี้เราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือตอนที่กำลังเปิดคำสั่งซื้อที่วางอยู่ในโปรแกรม MT4 ทันทีที่เราส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาด และเห็นว่าออเดอร์ของเราติดลบก่อนที่จะกลับกลายมาเป็นบวก จังหวะนั้นคือช่วงเวลาที่ระบบกำลังแสดงค่าสเปรจากออเดอร์ของเราให้ได้เห็น
ยกตัวอย่างเช่น คุณกำลังเทรดคู่สกุลเงิน EURUSD ด้วยมูลค่า 1 ล็อต และในช่วงที่ทำการซื้อขายนั้น ค่าสเปรดของกราฟ EURUSD มีอยู่ที่ 1.8 ทั้งสำหรับคำสั่งซื้อและคำสั่งขาย ทันทีที่คุณเปิดออเดอร์ในระบบ คุณจะเห็นว่าเงินของคุณติดลบทันที $18 จำนวน -18 ตรงนั้นเองคือค่าสเปรดของการเปิดคำสั่งซื้อขาย หรือหากว่าคุณยังไม่เห็นภาพ ให้ลองวางคำสั่งซื้อขายแล้วกดเปิดทันทีหลังจากที่เปิด คุณจะเห็นว่ามีเงินจำนวนหนึ่งที่หายไป เงินจำนวนนั้นคือค่าสเปรด
โดยสรุปแล้ว
หากมองโดยผิวเผิน การวางคำสั่งซื้อขายเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจและทำได้ง่ายในทางทฤษฎี มีเพียงคำซื้อเมื่อเห็นว่าตลาดมีแนวโน้มจะวิ่งไปในทิศทางขาขึ้น และวางคำสั่งขายเมื่อเห็นว่าตลาดมีแนวโน้มจะวิ่งไปในทิศทางขาลง คำสั่งบาย (Buy) จะถูกเปิดที่ราคาเสนอขาย (ask) และปิดที่ราคาเสนอซื้อ (bid) ในขณะที่คำสั่งขาย (Sell) จะถูกเปิดที่ราคาเสนอซื้อ (bid) และปิดที่ราคาเสนอขาย (ask)
แต่เมื่อพูดถึงทางปฏิบัติแล้ว การวางคำสั่งซื้อขายในจุดที่คุ้มค่ากับเวลาและความรู้ที่เราลงทุนเพื่อศึกษามามากที่สุดถือเป็นเรื่องที่ยาก แม้แต่นักลงทุนมืออาชีพบางคนก็ยังไม่สามารถทำเรื่องนี้ได้ดี
ดังนั้นการเข้าใจถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างราคาเสนอซื้อหรือราคาเสนอขายจึงเป็นรายละเอียดที่สำคัญ เพราะนอกจากการวางคำสั่งซื้อขายแล้ว นักลงทุนยังต้องทำความเข้าใจลงไปถึงลักษณะการวิ่งของกราฟคู่สกุลเงินแต่ละตัว เวลาไหนคือช่วงเวลาที่ค่าสเปรดของคู่สกุลเงินที่เราเลือกมีความผันผวนน้อยที่สุด? ช่วงเวลาไหนที่คู่สกุลเงินที่เราเลือกจะเริ่มมีปฏิกริยาตอบสนองต่อความเคลื่อนไหวของข่าวเศรษฐกิจ? นี่คือสิ่งที่นักลงทุนจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญ เพราะจะเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงว่าจะมีมากหรือน้อยกับราคาเสนอซื้อหรือขายของคู่สกุลเงินที่เรากำลังจะเลือกลงทุน
เรียนรู้การลงทุนด้วยการเปิดบัญชี MT4 หรือทดลองเทรดในบัญชีเงินสมมุติเพื่อเริ่มต้นเส้นทางการลงทุนได้เลย!