ในวันที่ 8 กันยายน มีเหตุการณ์สำคัญในปฏิทินเศรษฐกิจคือการประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ณ ตอนนี้ ตลาดส่วนใหญ่คาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะออกมาอยู่ที่ 50 bps หรือ 75 bps ตลาดกำลังพยายามคาดการณ์ว่า ECB จะตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกหรือระมัดระวังมากขึ้นหรือไม่
โพลหลายสำนักระบุว่าถึงความน่าจะเป็นของ ECB โดย 65% เชื่อว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ลดลงจาก 80% ในสัปดาห์ที่แล้ว ตลาดยังให้ความสำคัญว่าข้อมูลเศรษฐกิจยุโรปจะได้รับผลกระทบหรือไม่ หลังจากที่ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนสิงหาคมของยูโรโซนพุ่งขึ้นถึง 9.1% สร้างสถิติสูงสุดใหม่ นอกจากนี้ เมื่อใกล้ถึงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว ราคาพลังงานจะเพิ่มสูงขึ้น และยังไม่ชัดเจนว่าอัตราเงินเฟ้อของยุโรปจะถึงจุดสูงสุดหรือไม่ นอกจากนี้ คนใน ECB หลายคนได้แสดงจุดยืนที่ไม่เป็นไปในทิศทางบวก พวกเขาคิดว่า ECB จำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 50 bps เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ดังนั้น ตลาดจึงคาดว่าธนาคารกลางยุโรปอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงแบบธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ 75 bps การโต้เถียงกันเช่นนี้จึงทำให้การประชุมอัตราดอกเบี้ยของ ECB ในวันนี้เป็นเหตุการณ์สำคัญ
อีกประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามคือแนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตของธนาคารกลางยุโรป ตลาดต้องการรู้ว่าธนาคารกลางยุโรปจะยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อได้มากน้อยแค่ไหน แม้จะมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หากธนาคารกลางฯ ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต การอ่อนค่าของเงินยูโรจะทำให้ต้นทุนสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ราคาก๊าซธรรมชาติในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จึงอาจพุ่งสูงขึ้นต่อไป และระดับเงินเฟ้อในยุโรปอาจสูงขึ้นอีก
ยุโรปติดอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน กลุ่มประเทศอดีตมหาอำนาจมีความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยมากกว่าสหรัฐอเมริกา สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ค่อนข้างแย่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอย่างเยอรมนี ซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียเป็นอย่างมาก ตามการประมาณการโดยองค์กรระหว่างประเทศ ความน่าจะเป็นที่ยูโรโซนจะเข้าสู่ภาวะถดถอยภายในหกเดือนมีมากถึง 50% ซึ่งสูงกว่าความเป็นไปได้ของภาวะเศราฐกิจถดถอยในสหรัฐอเมริกา 30% เป็นอย่างมาก สิ่งนี้ได้กลายเป็นข้อจำกัด ที่สำคัญที่สุดสำหรับธนาคารกลางยุโรปในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ความเสี่ยงข้างต้นทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง แทนที่จะได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ต่างจากดอลลาร์สหรัฐฯ ในวันจันทร์ที่ผ่านมา ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงเป้นอย่างมาก คู่กราฟ EUR/USD ได้ตกลงสู่จุดต่ำสุดในรอบ 20 ปี จนตอนนี้ได้อ่อนค่าลงต่ำกว่า1.000 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเรียบร้อย เงินยูโรมีระดับการซื้อขายต่ำกว่า $0.99 ก่อนที่จะดีดตัวขึ้นเล็กน้อยจากอัตราการเติบโตของ GDP ประจำปีของยูโรโซนในไตรมาสที่สอง ที่ประกาศเมื่อวันพุธ 4.1% ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์เล็กน้อย ช่วยให้เงินยูโรขยับเข้าใกล้1.000 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
จะเห็นได้ว่าความเสี่ยงเชิงลบของเศรษฐกิจยุโรป รวมกับความเสี่ยงจากวิกฤตอุปทานพลังงานและผลกระทบของเงินเฟ้อต่อเศรษฐกิจ มีผลกระทบเชิงลบอย่างมากต่ออัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงิน EURUSD หากตัวเลขเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ยังออกมาไม่ดี เงินยูโรเทียบดอลลาร์สามารถลงทดสอบแนวรัยจุดต่ำสุดล่าสุดได้อีกครั้ง ดังนั้นนักลงทุนควรให้ความสนใจกับข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจของยุโรปอย่างใกล้ชิด วิกฤตพลังงานยังคงเป็นปัจจัยหลักที่จำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจของยูโรโซนและการแข็งค่าของเงินยูโร หากวิกฤตพลังงานไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องหรือแย่ลงกว่าเดิม เงินยูโรอาจยังคงอยู่ในระดับหรือต่ำกว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเวลานาน
เนื่องจากค่าเงินยูโรได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นหลัก ถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกหลังจากการประชุมใหญ่ที่แจ็คสันโฮล ในวันที่ 8 กันยายน จึงมีความสำคัญ นักลงทุนในตลาดจะให้ความสนใจว่าเขาจะพูดถึงวิกฤตพลังงานในยุโรปหรือไม่ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐในปลายเดือนนี้ และจุดยืนของเฟดที่มีต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตจึงมีความสำคัญมาก หากธนาคารกลางยุโรปขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าเฟดในเดือนนี้ จะเป็นการทำให้ EURUSD ปรับตัวขึ้นได้ชั่วคราว แต่ถ้าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงเกินไป ก็อาจทำให้ความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับการถดถอยทางเศรษฐกิจในยูโรโซนรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เงินยูโรอ่อนค่าหลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ECB