หลังจากการประกาศอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางอังกฤษ ตลาดลงทุนก็หันมาให้ความสนใจว่าข้อมูล PMI ด้านการผลิตจากประเทศต่างๆ จะทำให้เกิดความผันผวนใหม่ในตลาดการเงินโลกหรือไม่ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดจากประเทศต่างๆ กลายเป็นด่านทดสอบความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจของหลายประเทศ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลเศรษฐกิจในระดับมหภาคจะเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของแนวโน้มสินค้าโภคภัณฑ์และการเปลี่ยนแปลงของราคาสกุลเงินในอนาคต ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นแนวทางในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางชื่อดัง ในสัปดาห์นี้ ตลาดลงทุนจะให้ความสำคัญกับแนวโน้มข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) จากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และยูโรโซน
สหรัฐอเมริกา
ดัชนี PMI ภาคการผลิต ภาคบริการ และคอมโพสิตของสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคมยังคงแตะอยู่ที่จุดต่ำสุดในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเสื่อมโทรมของเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด ในวันศุกร์ จะมีการรายงานตัวเลขเบื้องต้นของ US Markit Composite PMI ในเดือนกันยายน ซึ่งในเดือนสิงหาคมได้ออกมาอยู่ที่ 44.1 ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ 49.8 และถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในรอบ 27 เดือน
เมื่อวันพุธ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 จุดเบสิส ซึ่งในเวลาเดียวกัน เฟดก็ได้ประกาศว่าจะขยายการดำเนินการบัญชีงบดุลต่อไปตามแผนที่วางเอาไว้ เมื่อพิจารณาจาก dot plot ล่าสุดของเฟด พวกเ้ขามีแนวโน้มที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกสองครั้งในปีนี้ ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.4% ภายในสิ้นปีนี้ก่ อนที่จะขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ 4.6% ในปี 2023 หลังจากนั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ตลาดมีความกังวลว่าตัวเลขเบื้องต้นของ PMI จาก Markit ในเดือนกันยายนจะชะลอตัวลงอีกหรือไม่ หากข้อมูลดังกล่าวปรับตัวลดลงอีก อาจทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมากขึ้น และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอาจมีการแข็งค่าขึ้นในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม หลังจากประกาศ PMI ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ก็พุ่งขึ้นเหนือระดับสูงสุดในรอบ 20 ปีที่ 111 โดยประมาณ
สหราชอาณาจักร
สหราชอาณาจักรจะมีการประกาศข้อมูลตัวเลขดัชนี PMI คอมโพสิตของสหราชอาณาจักรในเดือนกันยายนและ PMI ด้านการผลิตและบริการในเดือนกันยายนในวันนี้เช่นกัน ตัวเลขสุดท้ายของ PMI แบบผสมของสหราชอาณาจักรในเดือนสิงหาคมลดลงอย่างไม่คาดคิดมาเหลือ 49.6 จากเดิมที่ 50.9 นี่คือ PMI คอมโพสิตที่ต่ำที่สุดในสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021 โดยลดลงต่ำกว่าระดับ 50 เป็นครั้งแรก ถือเป็นการหดตัวของกิจกรรมทางธุรกิจโดยรวม นักลงทุนมีความเป็นห่วงอังกฤษเกี่ยวกับภาวะถดถอยมากกว่าสหรัฐอเมริกา ค่าครองชีพและราคาพลังงานที่สูงขึ้นอาจส่งแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมการผลิตและบริการ
หากตัวเลขในเดือนนี้ยังคงลดลง ธนาคารกลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งไม่ใช่ข่าวดีสำหรับเงินปอนด์อังกฤษ และอาจเพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินปอนด์ให้อ่อนค่าลง ในขณะเดียวกัน ตลาดก็เต็มไปด้วยผู้คนบอกว่าเศรษฐกิจอังกฤษจะเข้าสู่ภาวะถดถอย นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 จุดในวันพุธนี้ ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ ส่งผลให้เงินปอนด์อังกฤษอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และขณะนี้กำลังเข้ากับ 1 ปอนด์ = 1 ดอลลาร์
ยูโรโซน
ดัชนี PMI คอมโพสิตของยูโรโซนในเดือนสิงหาคมก็ค่อนข้างน่าหดหู่เช่นกัน โดยตัวเลขที่ออกมานั้นอยู่ที่ 49.2 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 49 และต่ำกว่าตัวเลขก่อนหน้านี้ที่ 49.9 กลายเป็นการมุ่งหน้าลงแตะต่ำสุดในรอบ 18 เดือน ธนาคารกลางยุโรปประกาศเมื่อต้นเดือนนี้ว่าจะยังคงต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 75จุดเบสิส นักวิเคราะห์หลายคนคาดว่าธนาคารกลางยุโรปจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง แม้ว่า ECB จะไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่การหยุดแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินยูโรก็ถือเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข
เมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์ของนักลงทุนในปัจจุบัน ข้อมูล PMI ในยูโรโซนอาจชะลอตัวลงอีก และเงินยูโรอาจอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องในอนาคต ตลาดคาดว่าตัวเลข PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนกันยายนเบื้องต้นจะลดลงจาก 49.6 เป็น 48.7 ในทำนองเดียวกัน ตัวเลข PMI ของอุตสาหกรรมการบริการเบื้องต้นคาดว่าจะลดลงจาก 49.8 เป็น 49 และตัวเลข PMI แบบผสมเบื้องต้นในเดือนกันยายนคาดว่าจะลดลงเป็น 48.2
เห็นได้ชัดว่าการเติบโตของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั่วโลกกำลังได้รับผลกระทบจากนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง และสัญญาณของภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกกำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ค่าเงินยูโรมีความเสี่ยงที่จะลดลงอีก นอกจากนี้ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังคงดำเนินต่อไป ปูตินเพิ่งประกาศระดมกำลังทหารโดยมีเป้าหมายเริ่มต้นคือการรับสมัครกองหนุน 300,000 คนเพื่อเข้าร่วมสงครามยูเครน ความตึงเครียดทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ดังนั้นเราจึงเชื่อว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะยังคงแข็งค่าต่อไปเนื่องจากสกุลเงินอื่นที่ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดัน แนวโน้มขาลงของราคาทองคำยังคาดว่าจะดำเนินต่อไป