ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้กลับเข้าสู่แนวโน้มขาขึ้นอีกครั้งก่อนการรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่จะรายงานในวันพรุ่งนี้ นักลงทุนหวังว่ารายงานตัวเลข CPI ในครั้งนี้จะแสดงให้เห็นถึงการอ่อนแรงลงของสถานการณ์เงินเฟ้อ
นักวิเคราะห์หวังว่าจะได้เห็นขาขึ้นของดัชนีค่าเงินดอลลาร์ (USDX) มากขึ้นก่อนรายงาน CPI ที่จะออกในวันพรุ่งนี้ รายงาน CPI เป็นข้อมูลสำคัญที่วัดอัตราเงินเฟ้อในเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดฟอเร็กซ์มาเกือบตลอดทั้งปี
อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทำให้เฟดดำเนินนโยบายการเงินแบบก้าวร้าว ด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลาสี่เดือนติดต่อกัน เฟดได้เตรียมความพร้อมที่จะดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกต่อไปด้วย หากอัตราเงินเฟ้อยังคงไม่ลดลง จุดสูงสุดของอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอยู่ในเดือนมิถุนายน ที่สามารถทำจุดสูงสุดในรอบสี่ทศวรรษที่ 9.1% ทำให้จึงต้องเฟดตอบโต้ด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 จุดเบสิสในเดือนกรกฎาคม
สาเหตุหลักของอัตราเงินเฟ้อที่สูงในเศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นมาจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน รัสเซียได้ลดปริมาณการส่งออกน้ำมันให้กับยุโรปและประเทศอื่นๆ ลง เพิ่มความต้องการน้ำมันในช่วงไตรมาสที่หนึ่งและสองของปีนี้เป็นอย่างมาก และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันทะยานขึ้นสร้างจุดใหม่
แต่สถานการณ์ราคาน้ำมันในเดือนกรกฎาคมนั้นแตกต่างออกไป ราคาน้ำมันได้ปรับตัวลดลงในเดือนที่ผ่านมา และยาวมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งนี้ทำให้นักลงทุนมีความหวังสูงว่าจะช่วยให้สามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ ซึ่งหวังว่าจะได้เห็นอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวในการรายงาน CPI วันพรุ่งนี้
เงินเฟ้อที่ลดลงจะช่วยให้เงินดอลลาร์สหรัฐและดัชนีค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ตลาดกระทิงดูเหมือนจะกลับเข้ามาจับจองพื้นที่ลงทุนอีกครั้งเพื่อดันดัชนีค่าเงินดอลลาร์ให้สูงขึ้นเหนือแนวรับใหม่ที่ 106.00 หากรายงาน CPI ของวันพรุ่งนี้ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ ขาขึ้นคาดว่าจะอยู่ต่อไปในระยะยาว
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐและ CPI คืออะไร?
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์เป็นมาตรวัดความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับคู่สกุลเงินหลัก 6 สกุล ได้แก่ ปอนด์อังกฤษ ยูโร เยนญี่ปุ่น ฟรังก์สวิส โครนาสวีเดน และดอลลาร์แคนาดา ดัชนีเงินดอลลาร์มีอักษรย่อเป็น USDX หรือ DXY กลายเป็นดัชนีที่สามารถซื้อขายได้ในตลาดฟอเร็กซ์
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เป็นข้อมูลทางเศรษฐกิจ ที่วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการที่ส่งมอบให้กับผู้บริโภค ข้อมูลนี้ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างราคาของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในปัจจุบันและเปรียบเทียบกับราคาสินค้าเหล่านั้นในเดือนที่ผ่านมา นักลงทุนให้ความสนใจกับรายงานตัวเลข CPI อย่างมาก เนื่องจากใช้ในการวัดอัตราเงินเฟ้อ
ตัวเลข CPI มีอิทธิพลต่อดัชนีดอลลาร์สหรัฐอย่างไร?
ตัวเลข CPI มีอิทธิพลอย่างมากต่อดัชนีค่าเงินดอลลาร์ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจาก CPI มักทำให้เฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจัง ในทางตรงกันข้าม การลดลงของ CPI จะเป็นการเปิดเส้นทางสู่การแข็งค่าขึ้นของดัชนีค่าเงินดอลลาร์ นักลงทุนดูรายงาน CPI เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าดัชนีค่าเงินดอลลาร์ควรจะขึ้นหรือลง
การคาดการณ์สำหรับตัวเลข CPI ในครั้งนี้คือ 0.2% เทียบกับตัวเลขครั้งก่อน 1.3%
คาดการณ์
นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าดัชนีค่าเงินดอลลาร์พุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดแล้ว และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงอย่างมากจากรายงาน CPI ในวันพรุ่งนี้ เหตุผลรองรับก็คือราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมากตลอดเดือนกรกฎาคมจนถึงปัจจุบัน สาเหตุหลักของอัตราเงินเฟ้อที่สูงในเศรษฐกิจสหรัฐนั้น คือราคาพลังงานที่สูงเนื่องจากการจำกัดปริมาณการส่งออกน้ำมันของสงครามรัสเซีย-ยูเครน
อย่างไรก็ตาม ในเดือนกรกฎาคมจนถึงปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกันความต้องการ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อ ตลาดลงทุนเชื่อว่ารายงานเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมจะชะลอตัวลงเหลือ 8.1% เทียบกับตัวเลขก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายนที่ 9.1%