ภาวะเงินเฟ้อที่ส่งผลให้ราคาพลังงานทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นได้กลายมาเป็นประเด็นระดับโลก ต้นทุนพลังงานและก๊าซธรรมชาติ ทำให้บริษัทในอุตสาหกรรมพลังงานหลายแห่งต้องปิดตัวลง และคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่าซัพพลายเออร์ในอุตสาหกรรมพลังงานต้องปิดตัวลงมากกว่า 40 แห่ง
ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณเตือนมาก่อน แต่ความเสียหายของการล้มละลายนี้ได้ขยายตัวออกเป็นวงกว้าง จนทั่วโลกรู้สึกหวาดหวั่น และต้องหันมาให้ความสนใจ บริษัททางด้านพลังงานขนาดใหญ่ 5 แห่งในสิงคโปร์ต้องล้มละลาย และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ต่อเนื่องไปถึง 140,000 ครัวเรือน และ 11,000 บริษัท ในขณะเดียวกัน บริษัทด้านพลังงานในสหราชอาณาจักรแม้จะยังไม่ถึงขั้นล้มละลาย แต่ก็อยู่ในสภาพที่ต้องทนอยู่กับการขาดทุนต่อเนื่อง นำมาสู่คำถามที่ว่าวิกฤตพลังงานเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะขยายตัวต่อเนื่องไปได้แค่ไหนอีกในอนาคต
จุดเริ่มต้นของวิกฤตพลังงานมาจากที่ใด?
แหล่งพลังงานหลักในปัจจุบันของยุโรปคือน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน แต่แหล่งพลังงานสำคัญทั้งสามนี้ล้วนแล้วแต่พึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ อันที่จริงราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปเริ่มปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ปี 2021 ซึ่งก็เป็นช่วงที่ยุโรปมีภาวะเงินเฟ้ออยู่แล้ว ทำให้ความต้องการพลังงานไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก จนกระทั่งถึงช่วงฤดูหนาว และก่อให้เกิดวิกฤตพลังงานขึ้น
ปัญหาหลักของวิกฤตพลังงานครั้งนี้คือซัพพลายพลังงานที่ยุโรปมี ข้อมูลทางสถิติเผยว่าการลงทุนในน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกในปี 2021 ลดลงประมาณ 26% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่จะมีการระบาด ตลอดระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา อัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง หลายพื้นที่ของยุโรปต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานอย่างหนัก รู้หรือไม่ว่าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียติดเป็น 35% ของความต้องการก๊าซธรรมชาติในยุโรป และเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่คอยพยุงเสถียรภาพด้านพลังงานในยุโรปเอาไว้
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์และสภาพอากาศหนาวเย็น แผนการจัดหาพลังงานระหว่างยุโรปและรัสเซียจึงค่อนข้างเปราะบาง ตั้งแต่ปี 2021 การส่งก๊าซของรัสเซียไปยังยุโรปยังคงอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว อุปสงค์ภายในประเทศรัสเซียและประเทศผู้ผลิตพลังงานอื่นๆ ก็เพิ่มขึ้น การส่งออกไปยังยุโรปจึงลดลง นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซียที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้รัสเซียไม่สามารถรับประกันเสถียรภาพในการส่งก๊าซธรรมชาติสู่ตลาดยุโรปได้เหมือนในอดีต
หากจะบอกว่าปัจจุบันยุโรปไม่ใช่ลูกค้าเพียงรายเดียวของรัสเซียก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะทุกวันนี้ความต้องการก๊าซธรรมชาติในเอเชียก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น รัสเซียจึงเห็นโอกาสใหม่ๆ ที่จะค้าขายก๊าซธรรมชาติกับตลาดเกิดใหม่ และเพิ่มการส่งก๊าซธรรมชาติมายังเอเชีย ที่มีแนวโน้มจะเป็นพันธมิตรกับรัสเซียได้ง่ายกว่าโลกตะวันตก สถานการณ์นี้ยิ่งจะทำให้ยุโรปอ่อนแอลง และอุตสาหกรรมพลังงานในยุโรปที่มีแนวโน้มจะถูกบังคับให้หดตัวลดลงก็กำลังเริ่มต้นขึ้น
อ้างอิงข้อมูลจากองค์กรด้านพลังงานที่เชื่อถือได้ สัญญาจัดหาก๊าซธรรมชาติของยุโรปในเดือนพฤศจิกายนพุ่งขึ้น 23% ทำสถิติสูงสุดที่ 117.50 ยูโรต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง เทียบเป็นเงินเท่ากับ 18 ยูโรเมื่อหกเดือนก่อน ซึ่งสูงกว่า 1,000% จากจุดต่ำสุดตลอดกาลในเดือนพฤษภาคม 2020
อุตสาหกรรมใดได้รับผลกระทบมากที่สุด?
ในขณะที่สภาพอากาศหนาวเย็นกระทบทวีปยุโรป ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าที่เกิดจากวิกฤตพลังงานได้ส่งผลเสียต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในยูโรโซน ราคาก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้าที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมตกอยู่ภายใต้แรงกดดันทางด้านต้นทุน
สมาคมอุตสาหกรรมยุโรป 11 แห่ง ซึ่งรวมถึงเหล็ก ปุ๋ย ซีเมนต์ กระดาษ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ออกโรงเตือนเมื่อเร็วๆ นี้ว่าวิกฤตด้านพลังงานอาจทำให้บริษัทที่พึ่งพาพลังงานในการดำเนินธุรกิจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจนอาจจะถึงระดับที่ไม่สามารถจ่ายได้ ความเสี่ยงนี้อาจทำให้เกิดการปิดตัวลงของอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ และจะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย แอนและโซฟี คอร์บิว นักวิชาการด้านการวิจัยที่ศูนย์นโยบายพลังงานโลกที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียกล่าวถึงวิกฤตพลังงานในยุโรปว่า
“ปัญหาไม่ใช่แค่ต้นทุนพลังงาน อาหารและสิ่งที่ให้ความร้อนถือเป็นปัจจัยที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันหลายคนมีปัญหาต้นทุนในการเข้าถึงสิ่งที่ให้ความอบอุ่น นี่ขนาดยังไม่นับรวมความเสี่ยงที่ราคาอาหารจะสูงขึ้นในอนาคต”
วิกฤตพลังงานที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เป็นสาเหตุหลักของความผันผวนที่รุนแรงในตลาดหุ้นยุโรปตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2021 ความหวาดกลัวของตลาดที่มีต่อปัญหาการขาดแคลนพลังงานค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อฤดูหนาวมาถึง ส่งผลกระทบมายังประสิทธิภาพของหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากวัฏจักรเศรษฐกิจ จากผลการดำเนินงานของหุ้นกลุ่มพลังงาน
เราจะเห็นว่าหุ้นเหล่านี้ได้สะสมการกำลังขาขึ้นมาพอสมควรตั้งแต่ก่อนเดือนตุลาคมปี 2021 ถึงจะมีการปรับฐานของตลาดเมื่อเร็วๆ นี้เกิดขึ้นก็ตาม ในวันจันทร์ของสัปดาห์นี้ ราคาก๊าซธรรมชาติของยุโรปปรับตัวลดลงเป็นเวลา 4 วันติดต่อกัน ทำให้สภาวะอุปทานล้นตลาดลดลงชั่วคราว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงนั้นจะหมดไป
วิกฤตพลังงานในยุโรปมีโอกาสพัฒนาไปได้ถึงขั้นไหน?
จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง บางประเทศได้เริ่มกลับมาอนญาตให้เดินทางระหว่างประเทศและเปิดพรมแดนอีกครั้ง ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบในประเทศต่างๆ เริ่มสูงขึ้น และส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น นักวิเคราะห์ตลาดกล่าวว่าราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอาจเผชิญแรงกดดันเพิ่มขึ้นอีกในปี 2022 ซึ่งไม่เหมาะสอดคล้องวิกฤตพลังงานในยุโรป นักวิเคราะห์บางคนเตือนว่าราคาก๊าซธรรมชาติของยุโรปในปี 2021 เคยเพิ่มขึ้นถึง 729% และราคาไฟฟ้าก็เคยเพิ่มขึ้น 500% หากราคาพลังงานยังเพิ่มสูงขึ้นเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดอาจลุกลามกลายเป็น “วิกฤตตลาดพลังงาน” ระดับโลกได้
นักวิเคราะห์หลายคนเห็นตรงกันว่าวิกฤตพลังงานในปัจจุบันถือเป็นตัวบ่งบอกว่าโลกยังคงต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานยุคเก่า อย่างน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ถึงจะมีกระแสเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานสะอาดก็ตาม โครงสร้างพื้นฐานสำหรับแหล่งพลังงานสะอาดบางส่วนยังไม่สมบูรณ์พร้อม จึงทำให้ในความเป็นจริงแล้วโลกเราจะยังไม่สามารถนำแหล่งพลังงานสะอาดมาใช้กับอุตสาหกรรมพลังงานขนาดใหญ่ได้ วิกฤตพลังงานครั้งนี้หากมองอีกมุมหนึ่งก็ถือเป็นโอกาสในการเร่งปรับปรุงโครงสร้างระบบพลังงานใหม่ ให้เข้าใกล้กับคำว่า “สามารถใช้งานได้จริง” ได้มากขึ้น