เมื่อเร็ว ๆ นี้ราคาน้ำมันดิบระหว่างประเทศได้ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 8 เดือน ในขณะที่กำลังเขียนบทความนี้ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ร่วงลงจากระดับต่ำกว่า 85 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล สู่ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ร่วงต่ำกว่า 80 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล จนถึงตอนนี้ ขาขึ้นของราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ทำมาตลอดทั้งปีได้หายไปหมดแล้ว
ปัจจัยสองประการที่ส่งผลกับการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบคือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกของธนาคารกลางสหรัฐฯ และความกังวลเกี่ยวกับภาวะถดถอยทั่วโลก การทะยานขึ้นของดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้สร้างแรงกดดันอย่างมากต่อสินค้าโภคภัณฑ์ สถานการณ์ปัจจุบันทำให้ตลาดเกิดความกังวลเกี่ยวกับความต้องการน้ำมันดิบที่อาจจะลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ราคาน้ำมันลดลงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ประการที่สอง ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น สร้างแรงกดดันต่อสกุลเงินที่ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐและประเทศอื่นๆ ที่ใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อชำระค่าขนส่งน้ำมันดิบ ต้นทุนที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อความต้องการน้ำมันดิบในหลายประเทศ ความต้องการน้ำมันดิบและราคาน้ำมันดิบจะฟื้นตัวในอนาคตหรือไม่? หรือราคาน้ำมันดิบจะต้องอยู่ในแนวโน้มขาลงต่อไป?
ตลาดลงทุนตั้งตารอการฟื้นตัวของราคาน้ำมันเมื่อถึงช่วงพีคของฤดูหนาวมาถึง สาเหตุหลักมาจากการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติ ส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบอาจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารชื่อดังยังคงประเมินในแง่ดีเอาไว้ว่าราคาน้ำมันดิบจะฟื้นตัว มอร์แกนสแตนลีย์วิเคราะห์เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าราคาน้ำมันจะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องในฤดูร้อน แต่ในช่วงที่อุปทานตึงตัว ซึ่งจะในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์อาจกลับมาที่ 100 ดอลลาร์ เช่นเดียวกับธนาคาร JPMorgan Chase ที่กล่าวว่าอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินในตลาดจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นขาดแคลนตั้งแต่เดือนตุลาคม
จากข่าวล่าสุด การคว่ำบาตรน้ำมันดิบของรัสเซียที่มีต่อยุโรปจะมีผลบังคับใช้ในเดือนธันวาคมปีนี้ การเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเกิดขึ้นไปพร้อมกับช่วงเวลาที่มีความต้องการพลังงานสูงสุดในฤดูหนาว ซึ่งจะหนุนให้ราคาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐหรือสูงกว่านั้น ยิ่งกว่านั้น หากยังไม่มีความคืบหน้าในการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่านอย่างมีนัยสำคัญ อิหร่านจะไม่สามารถปล่อยน้ำมันดิบออกสู่ตลาดได้ ในขณะที่ราคาน้ำมันยังคงตกต่ำ ด้านอุปทานก็ค่อยๆ มีความตึงตัวขึ้น
อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกของธนาคารกลางยังคงดำเนินต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตยุโรป สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะวิกฤตเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อและวิกฤตพลังงานที่สูงขึ้น ล่าสุด เงินปอนด์ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี ซึ่งไม่เพียงแต่สนับสนุนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จำกัดขาขึ้นของราคาน้ำมันดิบด้วย
นักลงทุนน้ำมันดิบต้องติดตามแนวโน้มข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคทั่วโลกอย่างใกล้ชิด ตราบใดที่ยุโรปและสหราชอาณาจักรตกอยู่ในภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ก็ไม่อาจรับประกันการฟื้นตัวของราคาน้ำมันในอนาคตได้ เมื่อพิจารณาจากข้อมูล PMI ที่เพิ่งประกาศออกมา ดัชนี PMI คอมโพสิตของสหราชอาณาจักรในเดือนกันยายนตกลงจาก 49.6 ในเดือนสิงหาคมเป็น 48.4 ในขณะเดียวกัน ดัชนี PMI ของยูโรโซนลดลงเหลือ 48.2 จาก 48.9 ในเดือนสิงหาคม สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในตลาดที่ลดลงทั้งในยุโรปและสหราชอาณาจักร
ปัญหาเงินเฟ้อยังคงรุนแรงเมื่อเราเข้าสู่ฤดูหนาว นักลงทุนในตลาดเป็นกังวลว่านโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะไม่ช่วยเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหราชอาณาจักรที่มีขนาดเล็กกว่าประเทศอื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของประเทศในอนาคต แนวโน้มเศรษฐกิจอาจเลวร้ายลงมากกว่านี้ ดังนั้นความเสี่ยงจากราคาน้ำมันดิบจึงขึ้นอยู่กับระดับอุปสงค์
ในสัปดาห์นี้ ความสนใจของนักลงทุนจะอยู่ที่ถ้อยแถลงขอบรรดาคนในเฟดมากกว่า 20 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประธานเฟด ซึ่งจะปรากฏตัวสองครั้งในสัปดาห์นี้ หนึ่งคือวันอังคารและสองคือวันพุธ ตลาดหวังว่าจะได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคตจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟด ตลาดหวังจะได้ข้อมูลแนวทางเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเฟดยังคงย้ำจุดยืนในการทำนโยบายการเงินเชิงรุปต่อไป แม้ว่าด้านอุปทาน น้ำมันดิบจะมีอยู่อย่างจำกัด แต่ความเชื่อมั่นในตลาดที่ไม่ค่อยมีมากนัก อาจทำให้ราคาน้ำมันต้องอยู่ภายใต้แรงกดดันในสัปดาห์นี้