คืนนี้ ตลาดลงทุนจะให้ความสำคัญกับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นจาก Markit สหรัฐอเมริกาในเดือนเมษายน เมื่อพิจารณาจากข้อมูลเดือนมีนาคม เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการเติบโตหลังจากการผ่อนคลายข้อจำกัดมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทำให้การผลิตและปริมาณคำสั่งซื้อใหม่ท่และการจ้างงานโดยรวมเพิ่มขึ้น ดังนั้น นักวิเคราะห์หลายคนจึงคาดว่าข้อมูลตัวเลข PMI จะขยายตัวเพิ่มขึ้น หลังจากที่เคยหดตัวลดลงในเดือนมกราคม
ในเดือนเมษายน เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงประสบเกี่ยวกับต้นทุนด้านพลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์ และราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าประเภทต่าง ๆ ต้องเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน นอกจากนี้ ตลาดลงทุนมักมีความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ข้อมูลจากรายงานตัวเลขในช่วงเย็นนี้จึงมีความเกี่ยวข้องกับผลกระทบของระดับเงินเฟ้อ ที่มีต่อ PMI ภาคการผลิตและบริการเดือนเมษายนของ Markit
สถานการณ์ตลาดแรงงานในสหรัฐฯ ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญของภาวะเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อมักจะทราบผลการดำเนินงานของบริษัทล่วงหน้า โดยทั่วไป ตัวเลขของดัชนี PMI ที่ดีคือไม่ควรอยู่ต่ำกว่า 50 จุด หากเกิน 50 จุดจะมีความหมายว่าอุตสาหกรรมขยายตัว และตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 แสดงถึงการลดลงหรือหดตัวของอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น การคาดการณ์ของดัชนี PMI การผลิตเบื้องต้นของสหรัฐฯ ในเดือนเมษายนในปัจจุบันคือ 58.2 ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขก่อนหน้าที่ 58.8 เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวยังคงสะท้อนถึงความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์และการเติบโตของการผลิตอย่างแข็งแกร่ง แม้ว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะยังคงปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม
การคาดการณ์ของตลาดลงทุนสำหรับดัชนี PMI ภาคการบริการโดย Markit เบื้องต้นสำหรับเดือนเมษายนคือ 58 จุด ไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขของเดือนก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้ข้อมูลตัวเลขเดียวกันจากเดือนมีนาคมเคยออกมาต่ำกว่าที่คาดไว้ ตัวเลขการประเมินครั้งสุดท้ายจาก PMI แบบรวมข้อมูลโดย Markit ในเดือนมีนาคมออกมาอยู่ที่ที่ 57.7 จุด ซึ่งถือว่าต่ำกว่าที่คาดไว้ สะท้อนถึงแรงกดดันต่อการผลิตจากต้นทุนที่สูงขึ้น
ในแง่ของตลาดแรงงาน ข้อมูลกระทรวงแรงงานสหรัฐเมื่อวันที่ 1 เมษายนเปิดเผยว่าอัตราการว่างงานของสหรัฐลดลงเหลือ 3.6% MoM เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมปีนี้ จำนวนงานใหม่ที่ไม่นับภาคเกษตรออกมาอยู่ที่ 431,000 ตำแหน่ง ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้เล็กน้อย ข้อมูลนี้ระบุว่าแรงงานยังตึงตัวและอัตราการเติบโตจะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบริการซึ่งมีช่องว่างด้านแรงงานที่สำคัญที่สุด
รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้น 5.6% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เล็กน้อย ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากค่าใช้จ่ายที่น่าจะเพิ่มขึ้นต่อไป การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อยังคงน่ากังวลเป็นอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลต่อข้อมูลตัวเลขของเดือนนี้
(อ้างอิง: TRADINGECONOMICS)
ดัชนี PMI ภาคการบริการ Markit ต้องเผชิญกับแรงกดดัน
ในเดือนมีนาคม ความต้องการในภาคการผลิตและบริการของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งทำให้คำสั่งซื้อสะสมโดยรวมอยู่ที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2009 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในเดือนมีนาคมแสดงให้เห็นว่าปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานถูกบรรเทาลงบ้างแล้ว ด้วยเหตุนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงเติบโตในอัตราที่ค่อนข้างดี ถึงกระนั้น กำลังการผลิตในปัจจุบันยังคงมีจำกัด ความไม่สมดุลระหว่างระดับอุปสงค์และอุปทานของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ควบคู่ไปกับราคาที่สูงขึ้นก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้ในขณะนี้
ในเดือนมีนาคม ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นเป็น 76.8 เกือบแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ตัวเลขนี้ยิ่งเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้อให้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ค่าแรง และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจและผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ต้องเจอกับอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมที่พุ่งสูงขึ้น นักวิเคราะห์สังเกตว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) รายปีที่เพิ่มขึ้น 8.5% อาจทำให้เฟดตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรง นักลงทุนในตลาดทั่วไปคาดว่าเฟดจะใช้กลยุทธ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น สมมติว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเกิน 0.50% เกิดขึ้นจริง จะส่งให้การหดตัวในดัชนี Markit PMI ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้ารุนแรงขึ้น และความสามารถของการผลิตจากซัพพลายเชนจะลดลง นอกจากนี้ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน การปรับฐานของตลาดเป็นเวลานานจะเพิ่มแรงกดดันต่อการผลิต และแรงงานใหม่ของอุตสาหกรรมบริการ
ความกังวลอีกประการหนึ่งคือผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่อาจจะมีต่อการเติบโตและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ผลกระทบของสงครามหักล้างกับความต้องการสินค้าและบริการที่แข็งแกร่งขึ้เล็กน้อย และการผ่อนคลายข้อจำกัดในมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ดังนั้น นักลงทุนควรให้ความสนใจกับข่าวเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปในแต่ละวันอย่างใกล้ชิด ผลกระทบของสงครามยังคงผลักดันราคาพลังงาน วัตถุดิบ และอาหาร ให้ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบห่วงโซ่อุปทาน