สัปดาห์ที่แล้ว ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ยังคงปรับตัวลดลงอย่างผันผวน ก่อนที่จะได้รายงานการประชุมของเฟด และข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐฯ ช่วยเอาไว้ เจ้าหน้าที่เฟดบางคนชี้ให้เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยควรดำเนินการอย่างระมัดระวังและไม่รีบร้อนเกินไป พวกเขา (เฟด) ยังคงเฝ้าระวังภาวะเศรษฐกิจถดถอย ที่อาจเกิดจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ข้อสังเกตดังกล่าวทำให้ตลาดลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกันยายน ด้วยเหตุนี้ เงินทุนบางส่งจึงได้ฤกษ์ออกจากดูเซฟ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเป็นเวลาสองสัปดาห์ติดต่อกัน
ภาพรวมของธนาคารกลางที่สำคัญ
ในสัปดาห์นี้ ตลาดลงทุนจะให้ความสนใจไปที่ข้อมูลตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ หรือข้อมูลตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนพฤษภาคม จำนวนการจ้างงานที่จะประกาศออกมาจะเป็นแนวทางแก่เฟดก่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน เมื่อพิจารณาถึงความต้องการการจ้างงานที่ชะลอตัวลงเมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้นักวิเคราะห์บางกลุ่มเชื่อรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรครั้งนี้อาจปรับตัวลดลงต่ำกว่า 400,000 ตำแหน่ง ถ้าหากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง จะทำให้ตลาดลงทุนเป็นกังวลมากขึ้น และอาจส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐมีโอกาสอ่อนค่าลงต่อไปที่ 100.50 ก่อนการเปิดเผยข้อมูลตัวเลขการจ้างงานในสหรัฐฯ นักลงทุนควรให้ความสนใจกับถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดคนสำคัญสองคนในคืนวันพุธ เพื่อเป็นแนวทางในการลงทุนกับดัชนีดอลลาร์สหรัฐ
ECB ได้แสดงให้เห็นจุดยืนที่แข็งกร้าวมากขึ้นในการต่อสู้กับเงินเฟ้อ โดยประกาศใขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนกำหนด ประธานธนาคารกลางคริสติน ลาการ์ด บอกเป็นนัยว่า ECB จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอย่างน้อย 0.50% และจะคงไว้เช่นนั้นจนถึงเดือนกรกฎาคมและกันยายน ส่งผลให้ความคาดหวังของนักลงทุนสูงขึ้น และดึงดูดเงินลงทุนเข้าสู่ยูโร
Eurostat จะออกรายงาน CPI ประจำเดือนพฤษภาคมในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย นักลงทุนต้องจับตาดูว่าข้อมูลตัวเลขที่ออกมา จะสนับสนุนเงินยูโรหรือไม่ หากปรับตัวขึ้น มีแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 1.0823
การปรับตัวขึ้นของคู่ EUR/USD ได้ทำให้สกุลเงินยุโรปอื่นๆ ปรับตัวขึ้นตาม ยกตัวอย่างเช่น ฟรังก์สวิสเพิ่งดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบสองปีครึ่ง หากยูโรยังคงปรับตัวขึ้นต่อไป ดอลลาร์สหรัฐเทียบกับฟรังก์สวิสอาจทดสอบแนวรับที่ 0.9420
เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินปอนด์ที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับธนาคารกลางอังกฤษออกมาตรการเพื่อบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของอังกฤษ ความคาดหวังของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทำให้เงินปอนด์แข็งค่าขึ้น หาก GBP/USD ยังคงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้พิจารณาแนวต้านถัดไปที่ 1.28 หรือ 1.30
ราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นสนับสนุนการแข็งค่าของดอลลาร์แคนาดา
ธนาคารแห่งประเทศแคนาดา (BoC) จะประกาศผลการประชุมอัตราดอกเบี้ยในวันพุธนี้ ตลาดคาดว่า BoC จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 จุด และคาดการณ์ความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต สัปดาห์ที่แล้วค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง และราคาน้ำมันระหว่างประเทศพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน กลายเป็นการหนุนค่าเงินดอลลาร์แคนาดา การประชุมโอเปกเมื่อวันพฤหัสบดีเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบ คาดว่าการคงไว้ซึ่งข้อตกลงเพิ่มกำลังการผลิต ที่สามารถช่วยสนับสนุนราคาน้ำมันระหว่างประเทศ อาจจะทำให้เงินดอลลาร์แคนาดาแข็งค่า ในทางเทคนิค การพักตัวต่ำกว่าจุดต่ำสุดของคู่ USDCAD ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมอาจทำให้ระดับแนวรับ 1.2 กลายเป็นจุดสนใจ หากปรับตัวลดลงต่อ มีโอกาสที่กราฟจะลงไปถึง 1.25