เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สหรัฐอเมริกาได้รายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จากกระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ ประจำเดือนเมษายน ซึ่งตัวเลขที่ออกมานั้นมีอัตราอยู่ที่ 8.3% ต่อปี ชะลอตัวลงเล็กน้อยจาก 8.5% ในเดือนมีนาคมเล็กน้อย แต่ตัวเลขดังกล่าวยังคงอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 8.1% ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนเมษายนยังคงสะท้อนถึงระดับเงินเฟ้อที่สูงมากในสหรัฐอเมริกา ยิ่งทำให้ตลาดลงทุนคาดหวังกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน ว่าอาจจะเป็นไปตามที่นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และเจ้าหน้าที่เฟดคนอื่นๆ เชื่อว่าจะต้องมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก ตลาดลงทุนกังวลว่าเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 50 จุดเบสิสในการประชุมเดือนหน้า ซึ่งอาจนำไปสู่การเพิ่มตัวเลขของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ และเมื่อมีเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดลงทุนสหรัฐฯ มากขึ้น ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจึงได้แข็งค่าสูงสุดในรอบ 20 ปี ในขณะเดียวกัน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ยังคงวิ่งอยู่ในระกับที่ใกล้เคียงกับ 3%
หลังจากประกาศอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา ยังมีข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจอื่นๆ ของยุโรปและสหรัฐฯ ที่น่าสนใจซึ่งจะประกาศในสัปดาห์นี้ นักลงทุนในตลาดต้องการดูตัวเลขอื่นๆ ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่เงินเฟ้อกำลังจะถึงจุดสูงสุด วันนี้ นักลงทุนในตลาดจะให้ความสนใจกับข้อมูลยอดขายปลีกในเดือนเมษายนของสหรัฐฯ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการบริโภคโดยรวมของประเทศ ตัวเลขที่ออกมาจะส่งผลกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น และสินค้าโภคภัณฑ์
สัปดาห์นี้ยูโรโซนจะมีการเผยแพร่ข้อมูลตัวเลขดัชนี CPI เดือนเมษายน และรายงานการประชุมของสภาปกครอง ECB รายงานการประชุมของ ECB อาจกล่าวถึงแผนยุติโครงการซื้อพันธบัตรในช่วงต้นไตรมาสที่สาม ก่อนตัดสินใจเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นักลงทุนกำลังจับตาว่า ECB จะกล้าเปลี่ยนนโยบายการเงินให้มีความตึงตัวมากขึ้นหรือไม่ ถ้าหากเป็นเช่นนั้นอาจทำให้กระแสเงินไหลกลับเข้าสู่สกุลเงินยูโร อย่างไรก็ตาม เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่ามากที่สุดในรอบ 20 ปี ณ ตอนนี้ เชื่อว่าคู่เงินยูโรเทียบดอลลาร์ไม่อาจจะฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้ ล่าสุดราคาพึ่งจะลงไปวิ่งอยู่ในจุดต่ำสุดในช่วงสองสัปดาห์ ดังนั้นในสัปดาห์นี้ เราจะมาดูกันว่ารายงานการประชุมของ ECB จะมีนโยบายการเงินที่ตึงตัวมากพอหรือไม่ ตอนนี้แนวรับที่ต่ำสุดในเดือนมกราคม 2017 อยู่ที่ 1.0340 แต่จากกราฟรายสัปดาห์ที่เกิดรูปแบบ double bottom ขึ้น ทำให้เราเห็นความเป็นไปได้ในการรีบาวด์
ค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อไม่นานมานี้ได้ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนด้วยเช่นกัน กราฟ GBP/USD รายสัปดาห์ จะเห็นว่าราคาปรับตัวลดลงต่อเนื่องกันมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2019 สัปดาห์นี้ สหราชอาณาจักรจะมีการรายงานข้อมูลการจ้างงานและ CPI ล่าสุด ข้อมูลตัวเลขทั้งสองจะมาสามารถบ่งบอกได้เศรษฐกิจอังกฤษยังคงอยู่ในระดับที่ดีหรือแย่ลง หลายคนกังวลว่าการไม่มีอัตราการเติบโตจะทำให้ตลาดลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของอังกฤษ สิ่งที่เป็นไปได้ในปัจจุบันคือธนาคารกลางอังกฤษอาจหยุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปี ประกอบกับความจริงที่ว่าเงินดอลลาร์ยังคงแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ ที่ยังคงอ่อนค่า ดังนั้น จึงมีโอกาสที่ราคาจะขยับเข้าใกล้ 1.2000 และมุ่งหน้าลงสู่จุดต่ำสุดในเดือนมีนาคม 2020