รายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ของสหรัฐฯ จะเป็นตัวชี้นำตลาดการเงินในสัปดาห์นี้ นอกเหนือจากนั้น นักลงทุนกำลังรอการประกาศดัชนี PMI ภาคการผลิตในเดือนพฤษภาคมของหลายประเทศในวันพรุ่งนี้ ตลาดลงทุนจะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับรายงานตัวเลข PMI ภาคการผลิตของสหรัฐฯ เนื่องจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ที่สูงอย่างต่อเนื่องและการลดลงของดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในเดือนเมษายนที่ประกาศเมื่อต้นเดือนนี้ ประกอบกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งก่อนของเฟด เป็นผลให้นักวิเคราะห์ตลาดยังคงเชื่อว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งพวกเขเชื่อว่าสาเหตุนี้อาจกระตุ้นการชะลอตัวของรายงานตัวเลข PMI
หลายๆ ประเทศจะประกาศตัวเลข PMI ภาคการผลิตในเดือนพฤษภาคม
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์จบสถิติขาขึ้นติดต่อกันในรอบ 6 สัปดาห์ หลังดัชนียอมปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดในรอบ 20 ปี นับเป็นขาลงของดัชนีดอลลาร์สหรัฐมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ สาเหตุหลักมาจากความกังวลว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของเฟดจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐให้ตกต่ำลง เงินดอลลาร์ในช่วงนี้อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก กราฟ EUR/USD สามารถกลับมายืนเหนือระดับ 1.05 โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกจากรายงานการประชุม ECB ครั้งล่าสุด นอกจากนี้ รายงานอัตราการจ้างงานล่าสุดของสหราชอาณาจักรยังช่วยคลายความกังวลของตลาดแรงงานและแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศ นักวิเคราะห์ยังคงเชื่อว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษในเดือนมิถุนายน เป็นผลให้เงินปอนด์ในกราฟรายสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2020
หลายประเทศจะประกาศ PMI ภาคการผลิตประจำเดือนพฤษภาคมในสัปดาห์นี้ สมมติว่าการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องบ่งชี้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจอาจจะอ่อนแอลง หากเป้นเช่นนั้น เงินดอลลาร์อาจกลับมาเป้นที่ต้องการอีกครั้งเนื่องจากเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย แต่ที่สำคัญกว่านั้น การดูรายงานการประชุมนโยบายของ FOMC ในเดือนพฤษภาคมของเฟดจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย ในการประชุมครั้งนั้น เฟดได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี และวางแผนที่จะเริ่มลดขนาดงบดุลในเดือนมิถุนายน
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ยังคงรักษาระดับที่ 103 เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว แต่อ่อนค่าลงในช่วงเช้าของวันจันทร์ สมมติว่ารายงานการประชุมของเฟดไม่ดี แต่ข้อมูลของสหรัฐฯ กลับออกมาดี ดัชนีค่าเงินดอลลาร์มีโอกาสที่จะกลับขึ้นไปทดสอบระดับราคา 104 อีกครั้ง ในทางกลับกัน หากไม่ใช่ผลตอบรับเชิงบวก มีโอกาสที่ DXY จะลงไปที่ระดับต่ำสุดของเดือนนี้ที่ 102 หรือต่ำกว่านั้น
ธนาคารกลางนิวซีแลนด์คาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 50 จุดเบสิสในการประชุมนโยบายการเงิน ในวันที่ 25 พฤษภาคม ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ RBNZ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 50 จุดเบสิสสองครั้งติดต่อกัน หากเป้นเช่นนั้นจริ จะเป็นตัวบ่งบอกถึงความเร่งด่วนของการดำเนินการเชิงรุกเพื่อรับมือเงินเฟ้อ
ดอลลาร์นิวซีแลนด์เทียบกับดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นเป็น 0.6400 ณ สิ้นสัปดาห์ที่แล้ว อย่างที่หลายคนคาดไว้ RBNZ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 จุดเบสิสและเปิดทางให้กับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ซึ่งอาจผลักดัน NZDUSD ไปที่ 0.6530 หากดอลลาร์สหรัฐยังคงอ่อนค่า