ตลาดฟอเร็กซ์เป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก งานวิจัยพบว่ามีจำนวนเงินลงทุนและการซื้อขายสูงสุดในแต่ละวัน 6.8 ล้านล้านดอลลาร์ และมีการซื้อขายมากกว่า 5 พันล้านดอลลาร์ต่อวัน ดังนั้นตลาดฟอเร็กซ์จึงมีเงินเพียงพอสำหรับทุกคนในโลกที่ฝันจะเป็นนักลงทุน ตลาดแห่งนี้ได้สร้างมหาเศรษฐีจำนวนมากมาหลายต่อหลานคนแล้ว แม้แต่รัฐบาลก็มีส่วนร่วมในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงิน บทความนี้จะมาเปิดเผยข้อมูลว่าใครบ้างที่มีส่วนสำคัญในตลาดฟอเร็กซ์ เปอร์เซ็นต์ของเงินทุนในแต่ละส่วนมาจากที่ใดกันบ้าง รายละเอยีดได้ถูกระบุและอธิบายไว้ด้านล่างดังต่อไปนี้
องค์ประกอบสำคัญ 10 ประการในตลาดฟอเร็กซ์
- ธนาคารพาณิชย์
- ธนาคารกลาง
- รัฐบาล
- ผู้จัดการกองทุนเฮจฟันด์
- กองทุน ETF
- โบรกเกอร์
- บริษัทข้ามชาติ
- สถาบันการเงิน
- นักลงทุนรายย่อย
- หน่วยงานกำกับดูแล
ธนาคารพาณิชย์
ธนาคารพาณิชย์ยักษ์ใหญ่มีบทบาทสำคัญในตลาดฟอเร็กซ์ พวกเขามีส่วนสนับสนุนปริมาณเงินทุนที่ซื้อขายวนเวียนอยู่ในตลาดฟอเร็กซ์ มากกว่า 80% ของเงินที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดมาจากธนาคารพาณิชย์ยักษ์ใหญ่เหล่านี้โดยตรง ยิ่งไปกว่านั้น กฎหมายที่ใช้บังคับใช้กับประเทศส่วนใหญ่ทำให้ประชาชนให้ความสำคัญกับการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ที่พวกเขาเลือก ธนาคารพาณิชย์มีกำไรอย่างมากจากเงื่อนไขเหล่านี้ ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำที่ขับเคลื่อนตลาดฟอเร็กซ์ได้แก่ Citi Bank, JP Morgan, UBS, Barclays Bank, Deutsche Bank, BAML, Goldman Sachs, HSBC, Morgan Stanley เป็นต้น
ธนาคารกลาง
ธนาคารกลางมักเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ให้บริการสภาพคล่อง พวกเขาคือผู้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามรรถซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินได้ ธนาคารกลางของทุกประเทศมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการพิมพ์สกุลเงินของประเทศ ธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์มีสกุลเงินต่างประเทศสำรองเอาไว้ ซึ่งหมุนเวียนอยู่ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมธนาคารกลางถึงมีอิทธิพลต่อตลาดฟอเร็กซ์เป็นอย่างมาก เพราะพวกเขาคือผู้กำหนดนโยบายการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทุกครั้งที่ธนาคารกลางมีประชุม นักลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์จึงมักจะกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินใหม่ ๆ จากธนาคารกลางในประเทศมหาอำนาจระดับโลก
รัฐบาล
เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปและธนาคารพาณิชย์ที่แสวงหาผลกำไรจากการซื้อขายในตลาดฟอเร็กซ์ รัฐบาลก็เช่นกัน รัฐบาลส่วนใหญ่ลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ด้วยเงินจำนวนมาก เพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ งานวิจัยที่เชื่อถือได้บางชิ้นถึงกับระบุว่ารัฐบาลอาจจะมีส่วนร่วมมากกว่า 5% ของจำนวนเงินทั้งหมดที่ซื้อขายในตลาดฟอเร็กซ์
ผู้จัดการกองทุนเฮจฟันด์
กองทุนป้องกันความเสี่ยงประกอบด้วยเงินจำนวนมากที่มาจากบุคคลร่ำรวย ผู้จัดการกองทุนจะมอบหมายให้เทรดเดอร์มือโปรเป็นผู้ลงทุนในนามของบริษัท และแบ่งกำไรให้ตามส่วนต่างของผลตอบแทน ผู้จัดการกองทุนยักษ์ใหญ่มีเงินอยุ่ในมือเป็นจำนวนมาก ดังนั้นพวกเขาจึงมีอิทธิพลพอสมควรในการเปลี่ยนทิศทางของตลาดได้ บ่อยครั้ง ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์มักจะปรับทิศืทางการบริการกองทุนให้เข้ากับทิศทางของธนาคารพาณิชย์เพื่อรักษาผลกำไร
กองทุน ETF
กองทุน ETF หมายถึงกองเงินจำนวนมาก ที่นักลงทุนรวบรวมเพื่อซื้อสินทรัพย์ที่ขายในตลาดกองทุน ETF มีความโดดเด่นในด้านการผสมผสานกันระหว่างหุ้น ที่อาจจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มเดียวกันเลย แต่ถูกจับให้มารวมอยู่ในกลุ่มเดียวกันได้ แนวคิดของกองทุน ETF คือการรวมเงินของนักลงทุนเอาไว้เป็นก้อนๆ เดียว ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน หรือเฉพาะเจาะจง
ตัวอย่างกองทุน ETF ในปัจจุบันอย่างเช่น Xtrackers Harvest CSI 300 China (A-Shares ETF), SPDR Dow Jones Industrial Average ETF, iShares MSCI Emerging Markets ETF, iShares MSCI EAFE Index ETF, iShares MSCI Indonesia ETF, SPDR Gold Trust ETF, SPDR S&P China ETF, iShares Russell 2000 ETF, United States Oil Fund ETF, SPDR Technology Select Sector ETF, Vanguard Growth Index Fund ETF เป็นต้น
โบรกเกอร์
โบรกเกอร์มีบทบาทสำคัญในตลาดฟอเร็กซ์ พวกเขาเป็นประตูเชื่อมช่องว่างระหว่างคนที่ต้องการจะลงทุนและตลาดฟอเร็กซ์เข้าหากัน ดังนั้นโบรกเกอร์จึงถูกมองว่าเป็นผู้ให้บริการทางการเงิน และเป็นตัวกลางที่ช่วยให้นักลงทุนเข้าสู่ตลาดฟอเร็กซ์ได้ง่าย โบรกเกอร์เป็นตัวกลางในตลาดที่ขาดไม่ได้ เพราะพวกเขาเป็นผู้กำหนดเลเวอเรจของบัญชีผู้ใช้งานแต่ละราย โบรกเกอร์ยังเป็นผู้ที่อนุญาตให้นักลงทุนรายย่อยสามารถลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก ได้มากกว่าเงินฝากที่มีในช่วงเริ่มต้น โบรกเกอร์ที่ดีจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางผู้ดำเนินการส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดอย่างรวดเร็ว ไม่บิดพริ้ว เพราะได้รับการกำกับดูแลจากหน่วยงานด้านการเงิน ที่มีความเชื่อถือสูง
บริษัทข้ามชาติ
บริษัทข้ามชาติคือบริษัทที่มีสาขากระจายตัวอยู่ในต่างประเทศ บริษัทข้ามชาติทำหน้าที่เป็นร่ม ที่ครอบคลุมสาขาต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ แต่บริษัทเหล่านี้มีชื่ออยู่ในประเทศเดียว ที่มีสำนักงานใหญ่ มีบริษัทข้ามชาติมากมายที่ทำธุรกิจเปิดให้บริการเป็นแพลตฟอร์มลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ เพราะพวกเขาต้องแปลงสกุลเงินที่ได้กำไรมา ไปเป็นสกุลเงินของประเทศบ้านเกิดหรือประเทศที่จดทะเบียน บ่อยครั้งบริษัทข้ามชาติเหล่านี้ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ด้วยการแปลงสกุลเงินหลักเป็นสกุลเงินของประเทศที่ไปตั้งสาขา หรือสกุลเงินที่แข็งค่ามากกว่าเพื่อทำกำไร
สถาบันการเงิน
สถาบันการเงินขนาดใหญ่หลายแห่งในปัจจุบันมีส่วนร่วมกับการลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ แน่นอนว่าพวกเขาต้องลงทุนในตลาดแห่งนี้เพื่อสร้างผลกำไรสูงสุด เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะพวกเขาอาจต้องปฏิบัติตามนโยบายการเงินของรัฐบาลและการชำระภาษี ฯลฯ ดังนั้นสถาบันการเงินจึงเป็นผู้พิจารณาว่าสามารถลงทุนในตลาดใดได้บ้าง ลงทุนในคู่สกุลเงินไหนจึงจะได้กำไร หรืออาจจะทำไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ
นักลงทุนรายย่อย
นักลงทุนรายย่อยเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากที่สุดในตลาดฟอเร็กซ์ แต่ถึงกระนั้น จำนวนเงินทุนที่นักลงทุนรายย่อยลงทุนอาจจะค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ที่อยู่ในตลาดเช่นธนาคาร รัฐบาล หรือสถาบันการเงิน เป็นผลให้เทรดเดอร์รายย่อยมักจะพึ่งพาระบบเลเวอเรจที่โบรกเกอร์กำหนดมาให้ เพื่อให้พวกเขาสามารถลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ด้วยจำนวนเงินที่น้อย แต่เหมือนมีมากได้
หน่วยงานกำกับดูแล
หน่วยงานกำกับดูแลคือหน่วยงานของรัฐ ที่ควบคุมกิจกรรมการเงินในตลาดทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อเป็นโบรกเกอร์ พวกเขาคือกลุ่มคนที่สามารถให้ความมั่นใจกับนักลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ได้ว่าโบรกเกอร์ที่อยู่ในการกำกับดูแลของเขา จะมอบกำไรให้กับลูกค้าตามที่ได้กำหนดกันไว้ ทุกประเทศจะมีหน่วยงานกำกับดูแลการเงินเป็นของตัวเอง แต่สำหรับตลาดฟอเร็กซ์ หน่วยงานกำกับดูแลระดับโลกที่มีชื่อเสียง และสามารถไว้ใจได้เมื่อเห็นโบรกเกอร์ได้รับในอนุญาตจากหน่วยงานเหล่านี้ได้แก่ SEC, FCA, FRSC, FSCA และ FSC
ตลาดฟอเร็กซ์ในปัจจุบันเป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่แห่งนี้เปิดทุกวัน 23 ชม. นักลงทุนฝั่งขาขึ้นและลงต่างต่อสู้กันทุกวัน เพื่อเอาชนะกันและทำกำไรด้วยกลยุทธ์การลงทุนในรูปแบบต่างๆ มากมายเท่าที่จะจินตนาการออก ดังนั้น เทรดเดอร์ทุกคนควรพยายามเรียนรู้จากเทรดเดอร์มืออาชีพ เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไรที่ดีจากการลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์