ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติแห่งสหราชอาณาจักรที่เผยแพร่เมื่อวานนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคของสหราชอาณาจักร (CPI) เพิ่มขึ้นเป็น 10.1% ต่อปี เทียบกับตัวเลขคาดการณ์ที่ 9.8% และเพิ่มขึ้น 0.7% จากตัวเลขก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายนที่ 9.4%
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาพลังงาน อาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และราคายาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น 6.2% ในเดือนกรกฎาคม เทียบกับตัวเลขก่อนหน้าในเดือนมิถุนายนที่ 5.8%
ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศอื่น ๆ เช่นในสหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคมดูเหมือนจะชะลอตัวลงอย่างมากสาเหตุเป็นเพราะราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับ อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักร ที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูงจนสร้างสถิติตัวเลขสองหลักในเดือนกรกฎาคมที่ 10.1% นี่แสดงให้เห็นว่าความหยั่งลึกของอัตราเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งมีมากกว่าแค่ปัญหาจากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น ราคาน้ำมันที่แพงขึ้น เพิ่มต้นในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนอาหารในระบบ
อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นของสหราชอาณาจักรเกิดจากการที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมจะลดลงเนื่องจากต้นทุนพลังงานที่ลดลงตลอดเดือนกรกฎาคม รายงานเงินเฟ้อดังกล่าวยิ่งทำให้ตลาดมีความกลัวว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยกำลังใกล้จะมาถึงแล้ว
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งโดย BoE ยังไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจ นี่แสดงให้เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่านี้มีความจำเป็นต้องควบคุมอัตราเงินเฟ้อ นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าต้องเพิ่มจุดเบสิสในการขึ้นดอกเบี้ยมากกว่านี้เช่นเดียวกับที่แคนาดาทำไปก่อนหน้านี้ นี่คือวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการกู้สถานการณ์
นาดิม ซาฮาวี ระบุว่ารัฐบาลอังกฤษกำลังทำงานเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อจากต้นทุนด้านพลังงานที่สูง และจะพยายามดำเนินการต่อไปจนกว่าเงินเฟ้อจะถูกควบคุมได้ นอกจากนี้ รายงานเงินเฟ้อระบุว่าแรงกดดันด้านราคานอกเหนือจากน้ำมัน ยังมาจากปัจจัยอื่นๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นเป็น 12.6% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 ราคาโรงแรมในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 9% ถือเป็นจุดสูงสุดในรอบ 30 ปี อัตราเงินเฟ้อราคาขายปลีกเพิ่มขึ้นเป็น 12.3% สูงสุดนับตั้งแต่ปี 1981
BoE ยังคงเชื่อว่าต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นเป็นสาเหตุหลักของอัตราเงินเฟ้อที่สูง หากยังปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป จะเป็นการผลักประเทศชาติให้เข้าสู่ภาวะถดถอยเร็วกว่าที่คาดไว้
ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นไม่หยุด นักวิเคราะห์บางคนมักจะคิดหาความเป็นไปได้ในการชะลออัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรอย่างเร็วที่สุด หากราคาที่จ่ายโดยโรงงานในสหราชอาณาจักรสามารถลดลงได้ ก็จะช่วยลดภาระได้มาก ซึ่งในส่วนนี้เคยลดลงเหลือ 22.6% ในเดือนกรกฎาคมเทียบกับ 24.1% ตัวเลขก่อนหน้าในเดือนมิถุนายน
นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่าราคาอุปทานสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกเริ่มลดลง ซึ่งสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้ สหราชอาณาจักรก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่บางคนเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรยังไม่ถึงจุดสูงสุด และคิดว่าราคาพลังงานในครัวเรือนมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก หากเป็นเช่นนั้น เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรอาจประสบภาวะถดถอยเป็นเวลานาน จากราคาพลังงานที่สูงในช่วงเวลานี้ เหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้ความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง และลดผลผลิตทางอุตสาหกรรมตามความต้องการให้ต่ำลง ข่าวร้ายก็คือ BoE คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงสุดในเดือนตุลาคมที่ 13.3%
แม้ว่าค่าจ้างแรงงานจะเพิ่มขึ้น 4.7% ค่าครองชีพยังสูงกว่าการเติบโตของค่าจ้างเป็นอย่างมาก และทำให้รายได้ครัวเรือนหดตัว เนื่องจากราคาสินค้าและบริการส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อที่สูงขนาดนี้ได้สร้างงานให้กับ BoE ในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อมากขึ้น ด้วยเป้าหมายเงินเฟ้อที่ BoE ตั้งไว้ที่ 2% คณะกรรมการจึงคาดว่าจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกมากขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการกดเงินเฟ้อให้ลงมาอย่างน้อยครึ่งหนึ่งจากเป้าหมายนี้
จนถึงตอนนี้ BoE ได้ดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันไปแล้ว 6 ครั้ง ในช่วงห้าเดือนแรก ธนาคารกลางฯ ได้รักษาระดับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ 25 จุดเบสิส แต่ด้วยสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้น BoE จึงจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 50 จุดเบสิสในเดือนมิถุนายน แต่ด้วยตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงเป็นสถิติในเดือนกรกฎาคม พวกเขาน่าจะต้องเร่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่านี้ในการประชุมครั้งถัดไปในเดือนกันยายน อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจากการขึ้นดอกเบี้ยคือภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ผลกระทบนี้กลายเป็นสิ่งที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก และเป็นความท้าทายสำหรับฝีมือของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจสำคัญ BoE เป็นอย่างมาก
ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อสูงที่มีต่อสกุลเงินปอนด์คืออะไร?
อัตราเงินเฟ้อที่สูงมากขนาดนี้อาจดึงดูดนักลงทุนให้เข้าซื้อ GBP ในระยะสั้นก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในเดือนกันยายน อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยของ GBP นั้นต่ำกว่า USD จึงมีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนจะสนใจ USD มากกว่า GBP นักวิเคราะห์เชื่อว่าทั้งสองประเทศจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน ดังนั้นสถานการณืระหว่างทั้งสองสกุลเงินจึงขึ้นอยู่กับว่าธนาคารกลางฯ ของใครจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่านั้น อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันของสหรัฐฯ คือ 2.5% ในขณะที่อัตราของสหราชอาณาจักรคือ 1.75%
เมื่อเลือกสกุลเงินที่จะลงทุน นักลงทุนจะให้ความสนใจอย่างมากกับความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยเหล่านี้ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ GBPUSD ปรับตัวลดลง เงินดอลลาร์ยังคงแข็งค่านำเมื่อเทียบกับคู่สกุลเงินอื่นๆ ที่จับคู่กัน ขอแนะนำให้นักลงทุนให้ความสนใจกับความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยในคู่เงินหลักทั้งหมด ในขณะที่ลงทุนในตลาดทุกครั้ง ที่มีการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อ