การลงทุนวันนี้ตลาดลงทุนจะให้ความสำคัญกับการรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม ก่อนหน้านี้ตัวเลข CPI ในเดือนเมษายนออกมาอยู่ที่ 8.3% ในขณะที่ตลาดลงทุนคาดการณ์ว่าอาจจะออกมาอยู่ที่ 8.20% ก่อนการประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในการประชุมครั้งนี้ ตลาดลงทุนมากถึง 94.8% คาดว่าอาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 จุดเบสิส เพราะการประกาศตัวเลข CPI และการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะส่งผลต่อสกุลเงินดอลลาร์โดยตรง ดังนั้นเราจึงไม่สามารถเพิกเฉยต่อความสำคัญของข้อมูลในคืนนี้ได้
สมมติว่า CPI ที่ออกมายังคงอยู่ที่ 8% หรือมากกว่านั้น (ซึ่งเป็นไปตามความคาดหวังของตลาด) จะหมายความว่าระดับเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกายังไม่ได้รับการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ หากกรณีเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ความคาดหวังของตลาดที่เชื่อว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มจากเดิมจะสูงขึ้นอีก ซึ่งจะช่วยให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ในทางกลับกัน สมมติว่าข้อมูลตัวเลข CPI ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ก็อาจเพิ่มความคาดหวังของตลาดที่มีต่อเฟดในการชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือแม้กระทั่งหยุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปเลย ซึ่งจะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง
การคาดการณ์ของตลาดลงทุนในปัจจุบันเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยกำลังแสดงสัญญาณของอัตราดอกเบี้ยที่มีแต่ปรับตัวขึ้น ในทางตรงกันข้าม ตลาดลงทุนก็หวังว่าเฟดมีแนวโน้มที่จะหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน สาเหตุหลักมาจากคนในธนาคารกลางสหรัฐฯ หลายคนเคยกล่าวว่าพวกเขายังต้องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้กลับมาอยู่ในระดับที่เป็นกลางได้อย่างรวดเร็วที่สุด หนึ่งในผู้ที่สนับสนุนความคิดนี้คือผู้ว่าการเฟดวอลเลอร์ เขากล่าวว่าจะสนับสนุนการดำเนินนโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีก 0.50% ในการประชุมครั้งต่อไป
เลล์ แบร์นาร์ด (Lael Brainard) รองประธานเฟดกล่าวว่าความคาดหวังของตลาดในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม 50 จุดเบสิสนั้นดูสมเหตุสมผล เธอยอมรับว่ายังคงเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯจะลดลงเมื่อใด ดังนั้นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนจึงมีความเป็นไปได้มาก
เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เธอเชื่อว่างบประมาณที่เหมาะสมจะต้องควบคุมอัตราเงินเฟ้อโดยไม่กระทบต่อเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันเฟดได้ออกมาพูดกับตลาดหลายครั้งแล้วว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม สอดคล้องกับที่ผู้มีสิทธิ์วางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หลายคนต้องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ
ในสัปดาห์ที่แล้ว ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรจากสหรัฐอเมริกาในเดือนพฤษภาคมปรับตัวเพิ่ม 390,000 ตำแหน่ง มากกว่าตัวเลขจากนักวิเคราะห์ 320,000 ตำแหน่ง การจ้างงานในตลาดจำนวนมากยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ในการขึ้นค่าแรงแบบเร่งรัด ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนแรงงานสูงขึ้นและสร้างแรงกดดันด้านเงินเฟ้อให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น สิ่งที่ตลาดให้ความสนใจด้วยในเวลานี้คืออัตราเงินเฟ้อพุ่งจะถึงจุดสูงสุดหรือไม่ ตัวเลข CPI ที่จะประกาศในวันนี้จะมีบทบาทสำคัญในการวัดแนวโน้มเงินเฟ้อ
ต้องยอมรับความจริงว่าตอนนี้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ นั้นยากที่จะปรับตัวลดลงได้ในช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงแห่งความต้องการพลังงานเพื่อเดินทางท่องเที่ยว คาดว่าราคาพลังงานจะสูงขึ้นอีกมาก นอกจากนี้ สถานการณ์ในรัสเซียและยูเครนยังส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานและอาหารในตลาดโลก ซึ่งจะผลักดันราคาอาหารในสหรัฐอเมริกาให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าความต้องการบริการและสินค้าโภคภัณฑ์จะค่อยๆ ฟื้นตัว แต่ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกยังคงต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู ปัจจัยเหล่านี้ยิ่งเพิ่มความคาดหวังของตลาดที่มีกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในเดือนมิถุนายน
การคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นค่อนข้างเอื้อให้ดอลลาร์สหรัฐฯ ยิ่งแข็งค่าขึ้น ดัชนีดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในต้นเดือนมิถุนายน คาดว่า DXY จะมีโอกาสทดสอบระดับราคา 103 อีกครั้ง ตัวเลข CPI คืนนี้จะเป็นตัววางแนวทางของดอลลาร์สหรัฐต่อไปในอนาคต ความกังวลเกี่ยวกับระดับเงินเฟ้อที่สูงของตลาดไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะมีข้อมูลตัวเลขที่ต่างออกไป อย่างไรก็ตาม แนวโน้มในอนาคตระยะกลางของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะต้องรอจนถึงวันที่ 15 มิถุนายน เพราะจะเป็นวันที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประชุมอัตราดอกเบี้ย