ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนและนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่ตึงตัวมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น ก่อให้เกิดความกังวลนเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลง คืนนี้ สหรัฐอเมริกาจะมีรายงานตัวเลขยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือนเมษายน สิ่งที่ตลาดลงทุนให้ความสำคัญคือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการคาดการณ์ตัวดลขของเดือนนี้ว่าจะลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งเหลือ 0.5% จาก 1.1% จริงหรือไม่ ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดว่าอัตราการสั่งสินค้าคงทน ที่ไม่รวมการจัดส่งจะเพิ่มขึ้น 0.6% เศรษฐกิจสหรัฐฯ และแนวโน้มของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะเป็นอย่างไรหากคำสั่งซื้อสินค้าคงทนขยายตัวเพิ่มขึ้นตามที่คาดไว้?
ข้อมูลคำสั่งซื้อสินค้าคงทนสะท้อนถึงสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และยอดคำสั่งการผลิตในอนาคตของอุตสาหกรรมการผลิต เมื่อคำสั่งซื้อสินค้าคงทนลดลงอย่างรวดเร็ว มันจะสะท้อนถึงความอ่อนแอในอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งนำไปสู่อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจอ่อนแอมากขึ้น ในทางกลับกัน หากสภาพเศรษฐกิจดี ตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเศรษฐกิจเฟื่องฟู
สำหรับข้อมูลตัวเลขในเดือนมีนาคม ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.8% (เบื้องต้น) หลังจากที่ลดลง 1.7% ในเดือนกุมภาพันธ์ นับเป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021 นอกจากนี้ ยอดคำสั่งซื้อจากโรงงานในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.2% เมื่อเทียบแบบ MoM ในเดือนมีนาคม ตัวเลขดังกล่าวในเดือนมีนาคมสะท้อนถึงผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ของความสามารถในการลงทุนจากนายทุนในสหรัฐอเมริกาและความต้องการของตลาดที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ประจำเดือนพฤษภาคมกลับมีตัวเลขอยู่ที่ 57.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ข้อมูลนี้บ่งชี้ว่ากิจกรรมทางธุรกิจปรับตัวลดลง ข้อมูลในส่วนปลีกย่อยพบว่าดัชนีคำสั่งซื้อคงค้างเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบอย่างต่อเนื่อง อันมีสาเหตุมาจากความล่าช้าในการส่งมอบสินค้าของซัพพลายเออร์ และการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ การที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี จนนำไปสู่การควบคุมอัตราเงินเฟ้อของเฟดโดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ
ในไตรมาสแรกของปี 2022 ตัวเลข GDP ที่แท้จริงในสหรัฐฯ ได้ปรับตัวลดลงในอัตรา 1.4% ต่อปี ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 1.1% ส่งผลให้นักลงทุนคาดว่าอาจเกิดการชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรืออาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย นักเศรษฐศาสตร์บางคนแสดงความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะการขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นการเพิ่มต้นทุนการลงทุนและยับยั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต
ความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังสะท้อนให้เห็นผ่านการคาดการณ์ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนที่ลดลงอย่างมาก หากเป็นเช่นนี้จะสามารถตีความได้ว่าอาจจะเกิดผลการดำเนินงานที่ไม่ดีในการลงทุนกับในอุปกรณ์ใหม่ในช่วงไตรมาสดังกล่าว อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจำเป็นต้องดูข้อมูลส่วนอื่นประกอบเช่น ความสามารถในการผลิตเครื่องบิน อุปกรณ์อุตสาหกรรม และสินค้าคงทนอื่นๆ ที่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ในขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจจะกลับมาเติบโตในระดับปานกลางได้ในไตรมาสที่สองและหลังจากนั้น สาเหตุหลักมาจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.9% เมื่อเทียบแบบ QoQ ในเดือนเมษายน
สำหรับแนวโน้มในอนาคตของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนต้องให้ความสนใจการเปิดเผยรายงานการประชุมล่าสุดของเฟดเป็นพิเศษ และรายงานตัวเลขการเปลี่ยนแปลงในภาคการผลิตและการผลิตสินค้าคงทน ยอดคำสั่งซื้อ ราคา และตัวชี้วัดสำคัญอื่นๆ
อนาคตของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงไม่ชัดเจน เนื่องจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์เพิ่งปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุด นับเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดตั้งแต่เดือนมกราคม และอาจเข้าใกล้จุดต่ำสุดที่ 102.60 ข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจในช่วงปลายปี จะมีความสำคัญต่อการคาดการณ์ทิศทางในอนาคตของเศรษฐกิจ หากข้อมูลที่ออกมา บอกใบ้ถึงสัญญาณการอ่อนตัวของแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวม ก็อาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง นอกจากนี้ ปัจจัยที่จะส่งผลต่อภาพรวมของเศราฐกิจคือความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน การคว่ำบาตรระหว่างประเทศตะวันตกและรัสเซีย สมมติว่าเฟดตัดสินใจคงนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกเอาไว้ดังเดิม เชื่อได้เลยว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าได้อย่างต่อเนื่อง