เมื่อเร็ว ๆ นี้ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบระหว่างประเทศได้กลายเป็นจุดสนใจของนักลงทุนในตลาดอีกครั้ง เมื่อสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ พยายามที่จะลดการขาดแคลนน้ำมันทั่วโลกด้วยการเพิ่มอุปทานน้ำมันเข้าไปในระบบ เพื่อตอบสนองความต้องการน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน ซาอุดีอาระเบียกลับปรับลดราคาน้ำมันดิบ ที่จะส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชีย ทำให้ราคาน้ำมันดิบ WTI ในวันที่ 9 พฤษภาคมร่วงลง 7%. ก่อนจะร่วงลงอีก 3.46% ในวันที่ 10 พฤษภาคม ลงไปสู่จุดต่ำสุดของกราฟน้ำมันดิบรายวันที่ 98.91 ดอลลาร์ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลดลงมา 11% ภายในระยะเวลาเพียงสองวัน
อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบ WTI ในวันที่ 11 พฤษภาคมกลับดีดตัวขึ้นมาที่ 105.71 ดอลลาร์อย่างรวดเร็ว เนื่องจากความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมันดิบโลกยังคงอยู่ แรงกดดันด้านอุปทานของน้ำมันดิบไม่ได้หายไปอย่างสิ้นเชิง แม้อุปทานและเศรษฐกิจโลกจะอยู่ในระดับที่ดีขึ้น แต่หากยังขาดแคลนน้ำมันดิบอยู่ สงครามชักเย่อระหว่างอุปสงค์และอุปทานน้ำมันดิบจะยังคงดำเนินต่อไป หลาย ๆ คนคาดว่าสถานการณ์ปัจจุบันจะดำเนินต่อไปตลอดทั้งปี 2022
อะไรคือปัจจัยหลักที่ตลาดลงทุนกังวลมากที่สุด?
จากมุมมองด้านอุปสงค์ สหรัฐอเมริกาและประเทศผู้ผลิตน้ำมันอื่นๆ ได้ปล่อยน้ำมันออกจากคลังสำรองขนาดใหญ่มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม สหรัฐอเมริกาจะปล่อยน้ำมันดิบ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันจากคลังสำรองปิโตรเลียมทางยุทศาสตร์ (SPR) เป็นเวลาหกเดือนติดต่อกัน การตัดสินใจครั้งนี้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมอุปทานน้ำมันของประเทศและการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน ในทางกลับกัน ความกังวลของตลาดที่มีสถานการณ์โควิด-19 ในจีนได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุปสงค์ของน้ำมันดิบทั่วโลก ทำให้แนวโน้มราคาน้ำมันปรับตัวลดลงในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์
นอกจากนี้ หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 จุดเบสิสในเดือนพฤษภาคม ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวร่วงลงต่อเนื่อง ความเสี่ยงของตลาดลดลง ท่ามกลางความกลัวว่านโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย ดังนั้น ผลกระทบของความเชื่อมั่นของตลาดจึงทำให้ราคาน้ำมันดิบที่เคยอยู่ในขาลงเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น
จากมุมมองด้านอุปทาน ตลาดลงทุนกำลังข้ามผ่านข่าวเกี่ยวกับการคว่ำบาตรรอบใหม่ที่ยุโรปมีต่อรัสเซีย รวมถึงการคว่ำบาตรน้ำมันที่มีข้อขัดแย้งมาตั้งแต่ครั้งก่อน ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้นในเวลาต่อมา เนื่องจากการคว่ำบาตรต่อรัสเซียมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไป ผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบจึงมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปด้วยเช่นกัน โมฮัมหมัด บาร์กินโด เลขาธิการของกลุ่มโอเปกกล่าวเมื่อวันที่ 11 เมษายนว่าการคว่ำบาตรที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันในปัจจุบันและในอนาคตอาจทำให้การส่งออกน้ำมันดิบของรัสเซียลดลง 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากแนวโน้มความต้องการน้ำมันดิบในปัจจุบัน ผู้ผลิตรายอื่นของโลกต่อให้รวมพลังกัน ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะอุกช่องว่างซัพพลายน้ำมันขนาดใหญ่ที่หายไปเช่นนี้ได้
กลุ่ม OPEC+ กำลังเผชิญกับแรงกดดันจากประเทศผู้บริโภค เช่น สหรัฐอเมริกา พวกเขาต้องการให้กลุ่ม OPEC+ เพิ่มการผลิตเนื่องจากราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมครั้งล่าสุดในเดือนเมษายนได้ข้อสรุปว่าพวกเขาไม่ได้เปลี่ยนแปลงการเพิ่มการผลิต สมาชิก 23 ประเทศของกลุ่ม OPEC+ ทุกวันนี้ไม่สามารถผลิตน้ำมันถึงโควตาการผลิตที่ 2.59 ล้านบาร์เรลต่อวันได้ ส่งผลให้มีแนวโน้มว่าอุปทานน้ำมันดิบจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการโลกได้ในระยะสั้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนราคาน้ำมันให้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงนี้
เกมชักเย่อระหว่างฝั่งอุปสงค์และอุปทาน
เกมการชักเย่อระหว่างฝั่งอุปสงค์และอุปทานในตลาดน้ำมันยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งตัวเลขอุปสงค์และอุปทานกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น การคว่ำบาตรของรัสเซีย และการล็อกดาวน์ในจีน เมื่อใดก็ตามที่มีข่าวสำคัญเกิดขึ้น ราคาน้ำมันจะมีความผันผวนสูง หุ้นกลุ่มพลังงานกลับยังสามารถปรับตัวขึ้นสวนแนวโน้มหลักของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในช่วงนี้ โดยหุ้นกลุ่มพลังงาน S&P 500 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้น 40% หุ้นของ Saudi Aramco ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 27% แซงหน้าบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีมากมาย จนล่าสุดสามารถล้มแชมป์บริษัทมหาชนที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอย่าง Apple ลงได้สำเร็จ
เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนอาจไม่ยุติในเร็วๆ นี้ ความผันผวนของราคาน้ำมันจะยังคงดำเนินต่อไป ท่ามกลางการระบาดใหญ่ในจีน แต่หากเศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้นในอนาคต ความกังวลของตลาดเกี่ยวกับด้านอุปสงค์จะค่อยๆ หายไป ถึงกระนั้น การขาดแคลนซัพพลายน้ำมันยังคงเป็นความท้าทายหลักที่ตลาดน้ำมันดิบโลกกำลังเผชิญอยู่ ดังนั้นเราจึงเชื่อว่าราคาน้ำมันจะยังคงอยู่ในระดับสูงเช่นนี้ต่อไป
จากมุมมองปัจจุบัน หากอนาคตเต็มไปด้วยข่าวดี หุ้นกลุ่มพลังงานยังมีที่ให้สามารถปรับตัวขึ้นได้ต่อ แต่หากตลาดลงทุนยังคงร่วงลงอย่างต่อเนื่อง หรือความผันผวนของตลาดยังคงมีอยู่ หุ้นกลุ่มพลังงานที่กลายเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยสำหรับนักลงทุนจำนวนมากและส่งผลให้หุ้นกลุ่มพลังงานอาจเป็นเพียงตัวเลือกเดียวที่สามารถลงทุนได้ในเวลานี้